การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพและแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต 2

Main Article Content

สุปวีย์ ศรีวันทนาสกุล
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพและแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดการวิจัยไว้ทั้งหมด 2 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 260 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ ตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลบริหารสถานศึกษาจำนวนทั้งหมด 5 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ ทั้ง 6 ด้านของวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำในการจัดการด้านคุณภาพ 5 แนวทาง ด้านการพัฒนาบุคลากร 11 แนวทาง ด้านการสร้างทีมงานคุณภาพ 9 แนวทาง ด้านผลผลิต 10 แนวทาง ด้านการประเมินคุณภาพ 9 แนวทาง และด้านการยกย่องและให้รางวัล 10 แนวทาง

Article Details

How to Cite
ศรีวันทนาสกุล ส., & ชาตรูประชีวิน ฉ. (2021). การศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพและแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 118–133. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249615
บท
บทความวิจัย

References

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2557). เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก เอกสารการบรรยาย เรื่อง วัฒนธรรมคุณภาพ : สร้างคน สร้างชาติ: http://www.onesqa.or.th/th/ contentdownload-view/929/1155/.

ภาวนา กิตติวิมลชัย และกนกอร สมปราชญ์. (2556). เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก วัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา: ในเครือข่ายอุดมศึกษาใน ภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบน: https://qm.kku.ac.th/files/14-255788134815-phanch-1.pdf

มารยาท แซ่อึ้ง. (2552). การศึกษาการบริหารงานวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริการการศึกษา . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ มหาสิทธิวัฒน์และปัณณธร ชัชวรัตน์. (2550). กลยุทธ์การพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพการศึกษาของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 2(2), 126-138.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ: จาก TQC ถึง TQM, ISO 9000 และการประกันคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM: คู่มือสู่องค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุคส์.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2550). วัฒนธรรมการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. วิทยาจารย์: วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 106(5), 94-97.

สรรเพชญ พนัสบดี. (2552). การบริหารคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุมเทพ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. (2562). เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก แผนปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ปีการศึกษา 2562: https://sites.google .com/a/phrae2.go.th/nitedph2/development/followstudent/phaenptibatikarnithespikarsuksa2562.

อิสระ ทองสามสี. (2555). วัฒนธรรมคุณภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ: การวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Detert et al. (2001). A framework for linking culture and improvement initiatives in organization. Academy of Management Review, 25(4), 850-863.

Gryna, F. M. (2001). Quality planning and analysis: From product development through use. (4th ed.). Singapore: McGraw - Hill.

Juran, J. M. & Gryna, F. M. (1993). Quality Planning and Analysis. (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.