การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและปัจจัยของความน่าเชื่อถือที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แบบออนไลน์ในจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและปัจจัยของความน่าเชื่อถือที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบออนไลน์ ในจังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดตรัง จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบความน่าจะเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสุ่มแบบโควตา จาก 10 อำเภอ อำเภอละ 40 คน และ 2) การสุ่มแบบบังเอิญ จากแต่ละอำเภอ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Chi - Square ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบออนไลน์ เนื่องจากไม่มั่นใจในการบริการหลังการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่อาจดูแลไม่ทั่วถึงเมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อผ่านตัวแทน รองลงมา คือ ต้องการคำแนะนำจากพนักงานหรือตัวแทนเกี่ยวกับความคุ้มครองที่ต้องการ ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อ คือ ด้านราคาและด้านผลิตภัณฑ์ โดยประเด็นจากปัจจัยด้านราคาและด้านผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญคือ การเสนอราคาค่าเบี้ยประกันภัยมีหลากหลายเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ และ กรมธรรม์ที่จัดส่งมีความถูกต้องและเรียบร้อยสมบูรณ์ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์และความน่าเชื่อถือของบริษัทมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อ โดยประเด็นจากปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์และปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของบริษัทที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญคือ มีการแสดงข้อมูลในการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจอย่างชัดเจนและครบถ้วน และบริษัทมีความมั่นคงและการดำรงอยู่ในอนาคต ตามลำดับ
Article Details
References
จีระศักดิ์ เกาะสูงเนิน. (2550). ปัจจัยที่ตัดสินใจและความพึงพอใจในการทำประกันภัยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
พัลลภา อมาตยกุล. (2559). ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ ผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชธานี.
ยงยุทธ์ ฉัตรวรโสภณ. (2549). การตัดสินใจเลือกบริษัทประกันภัยของผู้ทำประกันภัยรถยนต์จังหวัดสมุทรปราการ: ศึกษาเฉพาะกรณีบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย จำกัด และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
รสริน พัชร์กัญญา และคณะ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(3), 28-39.
วรการ แสงวิวัฒน์เจริญ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 6 คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วัชระ ศิริโอวัฒนะ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2242-2254.
วิมล แซ่ตั้ง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสําหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ใน จ.นนทบุรี. ใน สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีรญา กังพานิชกุล และไกรชิต สุตะเมือง. (2556). ปัจจัยการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ (ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(2), 466-484.
ศิวฤทธิ์ สุทธแสน และธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย. (2560). อิทธิผลการสื่อสารการตลาดมีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 6(1), 158-170.
ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล และทองหนัก มาตย์นอก. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคงอยู่ของลูกค้าประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้งของตัวแทนนายหน้าประกันภัย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 2818-2834.
ศุภพล มงคลเจริญพันธ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจรูปแบบใหม่กับบริษัทประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทาลัยรัตนบัณฑิต, 12(1), 24-34.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2563). เรียกใช้เมื่อ 21 เมษายน 2563 จาก รายงานการรับประกันภัยจำแนกตามช่องทางการขาย: https://www.oic.or.th/th/industry/statistic/data/43/2
สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. (2563). ระบบสถิติทางทะเบียน. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 จาก http://trang.old.nso.go.th/nso/project/search/result_by_department. jsp
Wu, F. et al. (2018). Brand Name Types and Consumer Demand: Evidence from China's Automobile Market. Journal of Marketing Research, 56(1): 158-175.
Wu, M. et al. (2019). Online marketing: When to offer a refund for advanced sales. International Journal of Research in Marketing, 36(3), 471-491.