การบริหารจัดการน้ำตามหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

ปกิตน์ สันตินิยม

บทคัดย่อ

น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตการเกษตรและอุตสาหกรรม ประเทศไทยบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้     การใช้น้ำเกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้ง การบริหารจัดการน้ำดังกล่าวจะเกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลได้ จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ และใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ในการบริหาร เพื่อให้เกิดสมดุลของน้ำ และ         เกิดประโยชน์สูงสูดต่อประชาชน และสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งในสังคมได้อย่างยั่งยืนถึงแม้ว่า “น้ำ” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมด หากควรมีการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ชุมชนได้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของชุมชนและกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบการจัดการน้ำมาใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่ายิ่งขึ้นด้วยการจัดระบบชลประทาน ทำให้เกิดพื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่เกษตรกรรมที่ไม่ต้องพึ่งพิงน้ำฝนมากขึ้น ในขณะเดียวกันในหลายชุมชน โดยได้จากแหล่งน้ำผิวดิน เช่น ห้วยหนอง คลอง บึง หรืออ่างเก็บน้ำ ดังนั้น การจัดการน้ำ จึงเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต้องให้ความสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่ต้องจัดการให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้น้ำทุกกลุ่มได้อย่างเพียงพอและประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันคือจะทำอย่างไรจึงจะก่อให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม บทความทางวิชาการเรื่องนี้ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดในการดำเนินงาน

Article Details

How to Cite
สันตินิยม ป. . (2021). การบริหารจัดการน้ำตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 20–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249610
บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2563). การจัดการทรัพยากรน้ำ. เรียกใช้เมื่อ 3 มกราคม 2563 จาก http://www.dwr.go.th/contents

คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2540). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กองกลาง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2525). คู่มืองานเขื่อนดินขนาดเล็กและฝาย. นนทบุรี: สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน.

_______. (2541). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พงศธร โสภาพันธุ์ และคณะ. (2547). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องการจัดการน้ำชลประทานสำหรับเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระสมบูรณ์ ปูรณปุญฺโญ (พุ่มจันทร์). (2554). บทบาทของพระสงฆ์วัดพระบรมธาตุดอยผาส้มในการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงตำบลแม่สาบอำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่. ใน สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักเลขาธิการนายยกรัฐมนตรี. (2545). ประเทศไทยในบริบทใหม่ของการแข่งขันในเวทีโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม. (2551). การจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำล้ำตะคองแบบบูรณาการ. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2563). แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2557 จาก http://www.undp.org/content/undp/en/home.html.

เอกรัฐ กุศลสูงเนิน. (2563). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 จาก https://sites.google.com/site/ekkaratoh/

Blau, P. M. & Scott, R. (1962). Formal Organization. Sanfransisco: Charkdler publishing Co.,Ltd.

GWP - TAC. (2000). Integrated Water Resources Management. TAC Background papers. Stockholm: Global Water Partnership.

World Bank. (1989). Underlying Litany of Africa. Retrieved September 2, 2014, from http://web.worldbank.org