ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับการรักษาในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 321 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และการดูแลสุขภาพ 2) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale: TGDS) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค = 0.87 และ 3) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้สูอายุ ผู้วิจัยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตของ ภาวดี เหมทานนท์ และคณะ (2563) มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.88 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึง มกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตในภาพรวมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีคุณภาพชีวิตดี และ 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ภาวะสุขภาพในระดับดี การศึกษาระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับมัธยมศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมบ่อย และอายุ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 31.60 (R2 = .316, p < .001)
Article Details
References
จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: ศรีศิลปการพิมพ์.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. (2559). กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 49(2), 171-184.
ภาวดี เหมทานนท์ และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 1-14.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อณัศยา ซื่อตรง และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2559). ปัจจัยทํานายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 58-70.
อัญชลี อังศธรรมรัตน์ และสมใจ รัตนศรีทอง. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยสูงวัย ที่เข้ารับการรักษาโรคเรื้อรังซับซ้อนที่ศูนย์ชีวนันท์โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(5), 398-403.
อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุทัย สุดสุข และคณะ. (2552). โครงการศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. ใน รายงานการวิจัย. สมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย.
Chen, H. M. & Chen, C. M. (2017). Factor Associated with Quality of Life among Older Adults with Chronic Disease in Taiwan. International Journal of Gerontology, 11(1), 12-15.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lu, C. et al. (2017). Depression and Resilience Mediates the Effect of Family Function on Quality of Life of the Elderly. Archives of Gerontology and Geriatrics, 71(July 2017), 34-42.
Rodrigues, L. R. et al. (2017). Quality of Life of Elderly People of the Community and Associated Factors. Journal of Nursing, 11(3), 1430-1438.
Veni, R. K. & Merlene, A. M. (2017). Gender Differences in Self-esteem and Quality of Lifeamong the Elderly. Indian Journal of Health and Well-being, 8(8), 885-887.
World Health Organization. (2006). whoqol-old manual world health organization european office. Retrieved January 2, 2020, from https://www.who.int/mental_health/evidence/WHOQOL_OLD_Manual.pdf?ua=1