การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัด ทางการพยาบาลจิตเวช

Main Article Content

ธณัชช์นรี สโรบล
นิตยา บุญลือ
สมพร สิทธิสงคราม
สุมิตรพร จอมจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นเพศหญิง 71 คน เพศชาย 9 คน ชายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ข้อคือ 1) สื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลด้วยสถิติ Dependent Sample T - Test ผลการศึกษาพบว่าสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.73/84.28 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนใช้ 6.94 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001) และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สโรบล ธ. ., บุญลือ น. ., สิทธิสงคราม ส. ., & จอมจันทร์ ส. . (2020). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการสื่อสารเพื่อการบำบัด ทางการพยาบาลจิตเวช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 252–263. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/249114
บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และคณะ. (2554). เทคนิคการผลิตบทเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อการศึกษาทางไกลบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬางกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวัฒน์ ยวงทอง. (2554). การผลิตบทเรียนสื่อประสมเชิงโต้ตอบบนเว็บเรื่องทฤษฎีสี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bruning, R. H. et al. (1995). Cognitive psychology and instruction. (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Driscoll, M. (1997). Defining Internet - Based and Web - Based Training. Performance Improvement, 36(4), 5-9.

Gibbons, M. (1980). How experiential is experience - base program. The Journal of Experiential Education, 3(1), 11-13.

Katherine, M. F. & Patrica, A. (2008). Psychiatric mental health nursing. Philadelphia: Mosby Elsevier.

Likert, R. (1974). A method of constructing an attitude scale. Scaling: A sourcebook for behavioural scientists. Chicago: Aldine Publishing.

O'Brien et.al. (2008). An Introduction to theory and practice. Philadelphia: Sudbury Jones and Bartett.

Rodney Skager. (1978). Lifelong Education and Evaluation Practice: a study on the development of a framework for designing evaluation systems at the school stage in the perspective of lifelong education. Oxford: Pergamon Press.

Shadish, et al. (2002). Experimental and quasi - experimental designs for generalized causal inference. Boston: Houghton Mifflin.

Shives, R. (2012). Basic concepts of psychiatric - mental health nursing. Philadelphia: Wolters Kluwer Lippincott Williams & Wilkins.