ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องของคนวัยทำงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องของคนวัยทำงาน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คนวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปีบริบูรณ์ทั้งเพศชายและหญิง ประกอบอาชีพ มีรายได้และเคยตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่องจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ผลการวิจัย พบว่า คนวัยทำงานท่องเที่ยวทั้งวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ( = 4.29) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (
= 4.06) และปัจจัยด้านราคา (
= 4.03) การเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปที่แตกต่างกันต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่อง พบว่าอายุ สถานภาพสมรสที่ต่างกันของคนวัยทำงานส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนวัยทำงานที่แตกต่างกันต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดต่อเนื่อง พบว่า พฤติกรรมด้านแรงจูงใจหรือสิ่งดึงดูดใจและพฤติกรรมการวางแผนค่าใช้จ่ายส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นองค์กรธุรกิจที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวต้องนำเสนอทั้งอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ความหลากหลายของรูปแบบการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักแรมและการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปพักผ่อนในวันหยุดให้มากขึ้น
Article Details
References
กรกฎ พัวตระกู. (2563). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการท่องเที่ยว และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบางขุนเทียนชายทะเล. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 จาก http://dspace.bu.ac.th /handle/123456789/4384
กรมการท่องเที่ยว. (2562). สถิติการท่องเที่ยว ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=527
จารุมาศ เสน่หา. (2563). ปัจจัยส่วนประสมตลาดบริการที่มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชิตวร ประดิษฐ์รอด. (2559). ปัจจัยองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวปริมณฑลของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2563 จาก http://dspace.bu.ac.th /bitstream/123456789/1969/1/chitaworn_prad.pdf
ฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และคณะ. (2559). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการท่องเที่ยววิถีไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 3 มีนาคม 2563 จาก http://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1601/993
ถนอมขวัญ ทองโปร่ง. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อตัวแทนการท่องเที่ยว ออนไลน์ระหว่างเบบี้ บูมเมอร์, เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และ เจนเนอเรชั่นวาย ในการซื้อผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และบริการ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 395-405.
นรินทร์ สิรีเชียงพันธ์ และรักษ์ พงศ์วงศาโรจน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพศหญิงชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร. International Thai Tourism Journal, 13(2), 105-123.
นิธิกิตติ กานต์เหมสุวรรณ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในจังหวัดสงขลา. วารสาร มนุษย์กับสังคม, 5(2), 159-176.
ประจักร์ โกษาวัง และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยสำคัญกับความภักดีเชิงพฤติกรรมของ นักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวโฮมสเตย์ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 12(1), 34-50.
มยุรี เสือคำราม และคณะ. (2561). ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางจิตวิทยา และส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว: การสังเคราะห์งานวิจัยโดยใช้หลักการวิเคราะห์อภิมาน. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. University of the Thai Chamber of Commerce.
วงษ์ปัญญา นวนแก้ว และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(1), 95-103.
วีรชัย คำธร และฐัศแก้ว ศรีสด. (2556). การวิเคราะห์และพัฒนาการทำเหมืองข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพยากรณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลาง. เรียกใช้เมื่อ 21 ธันวาคม 2562 จาก http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/929
อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ และคณะ. (2563). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 193-203.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.
Slater & Gordon Lawyers. (2014). HR claim to be the most stressed at work with 62% citing stress. Retrieved August 22, 2020, from https://www.hrreview .co.uk/hr-news/wellbeing-news/hr-claim-to-be-the-most-stressed-at-work-with-62-citing-stress/52334
Yamane, Taro. (1973). An Introductory Analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.