ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ของผู้สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ของผู้สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงวัยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน อายุเฉลี่ย 69.5 ± 7.2 ปี ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยได้ค่าเท่ากับ 0.72 และผ่านการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ซึ่งใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีการของครอนบัค (Cronbach) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ของผู้สูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ ความเชื่อ ทัศนคติ และความรู้ โดยตัวแปรทั้ง 3 ตัวเป็นปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการถวายอาหารแด่พระสงฆ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = .000, .000 และ .002 ตามลำดับ) และสามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ในกลุ่มผู้สูงวัยได้ร้อยละ 22.1 การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องโรคเรื้อรังต่าง ๆ จากการบริโภคอาหาร และเรื่องหลักโภชนาการให้กับผู้สูงวัยเพื่อทั้งนี้เพื่อให้สามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพพระสงฆ์ได้
Article Details
References
จงจิตร อังคทะวานิช และคณะ. (2559). สถานการณ์ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์ จากโครงการสงฆ์ไทยไกลโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2553). สุขภาพผู้สูงอายุ. ใน นิตยา เพ็ญศิรินภา, เอกสารการสอนชุดวิชาอนามัยครอบครัวในงานสาธารณสุข หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราโมทย์ เที่ยงตรง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษากลุ่มโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยาพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม (สหสาขาวิชา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระกิตติญาณเมธี (สมเกียรติ รามัญวงศ์) และคณะ. (2561). การส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 94-107.
พระราชปริยัติ และคณะ. (2561). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 78-87.
มินตรา สาระรักษ์ และคณะ. (2560). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 37-48.
รัชนีกร ตาเสน และทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์. (2562). ความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารของชาวพุทธที่เอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์: กรณีศึกษาในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(4), 80-87.
ลลิลทิพย์ ธนสมบัตินันท์. (2559). พฤติกรรมการตักบาตรและถวายภัตตาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 23(3), 51-66.
ศนิกานต์ ศรีมณี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์ และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 37-45.
ศรีเมือง พลังฤทธิ์. (2562). สถานะสุขภาพและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 133-142.
สำนักงานพระพุทธศาสนา. (2557). จำนวนพระภิกษุ-สามเณรทั่วประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก http://www.onab.go.th/index.php?option=com_ content&view=article&id =921:2010-10-07-11-33-40&catid=77:2009-07-14-14-27-10&Itemid=391
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดศรีสะเกษ. (2561). จำนวนวัดในจังหวัดศรีสะเกษ. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก https://ssk.onab.go.th/index.php?option=com_ content&view =article&id=343&Itemid=189
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดศรีสะเกษ. (2562). จำนวนพระภิกษุและสามเณรในจังหวัดศรีสะเกษ. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก http://ssk.onab.go.th/index.php?option=com_content&view =article&id=342&Itemid=190
สำนักงานสถิติจังหวัดศรีสะเกษ. (2562). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์เรื่องผู้สูงอายุจังหวัด ศรีสะเกษ. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2562 จาก http://sisaket.nso.go.th/index .php?option=com_ content&view=article&id=425:2018-03-06-04-21-45&catid=81:2011-10-11-07-21-04&I
อลงกรณ์ สุขเรืองกูล และคณะ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร, 44(2), 38-48.
อัจฉริยา พ่วงแก้ว และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์: มุมมองของพระสงฆ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 81-91.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.
Yamane, Taro. (1973). An Introductory Analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.