การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ โดยการวิเคราะห์อภิมาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียน 2) เปรียบเทียบขนาดอิทธิพลของผลการวิจัยตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย โดยเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยแต่ละเล่มและเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ ประชากร ได้แก่ วิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2561 จากฐานข้อมูลThailis จำนวน 57 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีความถี่มากที่สุด ดังนี้ สถาบันที่ทำการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาวิชาที่ทำการวิจัย คือสาขาหลักสูตรและการสอน ปีที่พิมพ์ คือ ปีพ.ศ. 2557 ทฤษฎีที่ใช้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูรา การจัดการเรียนรู้ คือ การใช้โปรแกรมพัฒนาหรือใช้รูปแบบการพัฒนา แหล่งข้อมูล คือกลุ่มตัวอย่าง การตั้งสมมติฐานของการวิจัย คือ แบบมีทิศทาง แบบแผนการทดลอง คือ Randomized One Group Pretest - Posttest Design จำนวนตัวแปรอิสระ คือ 1 ตัวแปร จำนวนตัวแปรตามคือ 1 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบวัด ส่วนสถิติพื้นฐานที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน คือ t - test 2) วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะที่มีขนาดอิทธิพลมากที่สุดคือ วิธีใช้กิจกรรมในการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล 2.99 และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล พบว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันทำให้การส่งเสริมจิตสาธารณะไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กีรติวิทย์ สุวรรณธรรมา. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนจิตสาธารณะตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และทฤษฎีปัญญาสังคม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จีรศักดิ์ ยาโน. (2553). สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์อภิมาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยยศ เดชสุระ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน META-ANALYSIS. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และทิศา แขมณี. (2546). เก้าก้าวในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: นิชิน แอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ฟ.
พลับพลึง วงศ์คำมูล. (2555). การใช้กิจกรรมสมุดบันทึกความดีเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 26 จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทนะ จันทร์เจริญสุข. (2554). การใช้ภาพยนตร์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวชิรวิทย์ จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุทธนา วรุณปิติกุล. (2542). สำนึกพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาการศึกษา.
สุคนธรส หุตะวัฒนะ. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยเทคนิคการเสนอตัวแบบผ่าน ภาพการ์ตูนร่วมกับการชี้แนะทางวาจาที่มีต่อจิตสาธารณะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อริยา ทองกร. (2550). การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจากการสังเคราะห์งานวิจัยโดยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อัญชลี ยิ่งรักษ์พันธุ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองกับเทคนิคการประเมินจากสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kraft, F. N. (1992). Nurturing Social Consciousness Through Church Education. Dissertation Abstracts International, 53(5), 1465-A.