ปริมาณน้ำนมส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในโรงพยาบาลเกาะสมุย

Main Article Content

อุมาภรณ์ ศรีฟ้า

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมน้ำขิงให้มารดาหลังคลอดมีปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับความต้องการของทารกเพื่อส่งเสริมมารดาหลังคลอดให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนสำเร็จ องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟแนะนำว่าควรให้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดนมแม่จึงเปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับลูก เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของทารก อีกทั้งยังเป็นการสร้างสายใยผูกพันระหว่างแม่และลูก จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือมารดาหลังคลอดปกติที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลเกาะสมุย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบบันทึกปริมาณน้ำนมที่บีบได้และบันทึกติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมของกลุ่มมารดาที่เสริมด้วยน้ำขิงหลังมื้ออาหาร มากกว่ากลุ่มของมารดาที่ไม่ได้เสริมด้วยน้ำขิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมในกลุ่มมารดาที่เสริมด้วยน้ำขิงเท่ากับ 1.93 ออนซ์ (S.D. = 0.86) และกลุ่มมารดาที่ไม่ได้เสริมด้วยน้ำขิงหลังมื้ออาหารเท่ากับ 0.91 ออนซ์ (S.D. = 0.43) และกลุ่มมารดาที่เสริมด้วยน้ำขิงกระตุ้นปริมาณน้ำนมร้อยละ 85 มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนได้ หากมารดารับรู้และเข้าใจถึงปริมาณน้ำนมที่เพียงพอสำหรับลูกแล้วก็จะส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Article Details

How to Cite
ศรีฟ้า อ. (2020). ปริมาณน้ำนมส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในโรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 94–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/248275
บท
บทความวิจัย

References

จิรนันท์ วีรกุล. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นงเยาว์ ใบยา และคณะ. (2556). ผลของการพัฒนาระบบบริการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาหลังคลอด และครอบครัว โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ประชุมพร สุวรรณรัตน์. (2558). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ (การผดุงครรภ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัตธนี วินิจจะกูล และอรพร ดำรงวงศ์ศิริ. (2563). สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจัยเอื้อและอุปสรรค นโยบายและมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย. วารสารโภชนาการ, 55(1), 66-81.

วรรณา พาหุวัฒนกร และมารยาท สุธรรมพิทักษ์. (2556). การเปรียบเทียบปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 3 วันแรกหลังคลอดระหว่างมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวกับมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม เมื่อ 1 เดือน. พยาบาลสาร, 31(2), 57-66.

สุจิตรา ยวงทอง และคณะ. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกต่อระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 100-115.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง และคณะ. (2559). ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกหลังคลอด: ประสบการณ์ของมารดา. พยาบาลสาร, 34(3), 30-40.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2561). สมุนไพรที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่. พยาบาลสาร, 45(1), 133-145.

อัฉรา ศรีสุวพันธ์. (2555). ผลของน้ำขิงกับระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(3), 243-250.

อารีรัตน์ วิเชียรประภา. (2560). รูปแบบการจัดการตนเองของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน: กรณีศึกษามารดาหลังคลอด ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 29-41.

Gatti, L. (2008). Maternal perception of insufficient milk supply in breastfeeding. Journal of nursing scholarship, 40(4), 355-363.