ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จามจุรี แซ่หลู่
นภาวรรณ วิริยะศิริกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับพฤติกรรม การป้องกันโรคอ้วน และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 138 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power มีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบแทนที่ เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม การป้องกัน โรคอ้วน ตรวจสอบความเที่ยง โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความรู้ ความเข้าใจ หาความเที่ยงโดยใช้วิธีการของ คูเดอร์และริชาร์ดสัน ได้เท่ากับ .69 สำหรับด้านอื่น ๆ อีก 5 ด้านของความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนหา ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .82 และ .64 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนโดยรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอ (gif.latex?\bar{x}= 74.02, S.D. = 13.23) พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับถูกต้องเป็นส่วนใหญ่แต่ ไม่สม่ำเสมอ (  = 32.35, S.D. = 4.34) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r gif.latex?\bar{x} = .33, p<.01) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น เพราะเมื่อเด็กมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับที่เพียงพอก็สามารถนำไปใช้ในการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้มีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ส่งผลให้เด็กมีรูปร่างสมส่วนมากขึ้น

Article Details

How to Cite
แซ่หลู่ จ., & วิริยะศิริกุล น. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 1–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/248258
บท
บทความวิจัย

References

เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติด้านอนามัยส่วนบุคคลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในจังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(2), 47-59.

กรมอนามัย. (2561). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

. (2562). รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). ผลการสำรวจ Health Literacy ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-15 ปี. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

. (2561). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชนไทยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 1-8.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล และคณะ. (2562). ความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(1), 1-13.

จุฬาลักษณ์ บารมี. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ชลบุรี: ศรีศิลปะการพิมพ์.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ และคณะ. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507.

นุชจรินทร์ สุทธิวโรตมะกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพ อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปริยาภรณ์ มณีแดง. (2560). บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4), 16-23.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3),288-295.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ และคณะ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วนของเด็กวัยรุ่นตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(ฉบับพิเศษ), 80-90.

ศลาลิน ดอกเข็ม. (2554). การบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศิธร ตันติเอกรัตน์ และอภิชัย คุณีพงษ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนรัฐบาล. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 272-279.

ศศิภา โรจน์จิรนันท์ และอังคณา ขันตรีจิตรานนท์. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(2), 97-105.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 116-123.

สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิรินทร์ยา พูลเกิด และคณะ. (2556). รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์จำกัด.

สุกัญญา บัวศรี และคณะ. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ผัก และผลไม้ของเด็กวัยเรียนในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร, 47(2), 24-36.

อังศินันท์ อินทรคำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์จำกัด.

Briefel, R. R. et al. (2009). Consumption of Low-nutrient, energy-dense foods and beverages at school, home, and other locations among school lunch participations and nonparticipants. J Am Diet Assoc, 109(2 Suppy), S79-90.

Bruce, T. & Meggitt, C. (2012). Child care and education. United Kingdom: Insignia Books.

Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

World Health Organization. (2017). Tenfold increase in childhood and adolescent obesity in four decreases. Retrieved October 1, 2020, from http://www.who.int/en/news-room/detail