การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

Main Article Content

ทัศนีย์ เหล่าบุราณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2,423 คน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) จำนวน 500 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 แบบมาตราส่วน ประมาณค่า จำนวน 66 ข้อ ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนก เป็นรายข้อ ตั้งแต่ 0.429 ถึง 0.762 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.978 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต7 ประกอบด้วย 6 ด้าน 66 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ กำหนดค่าไค - สแควร์ เท่ากับ 1002.88 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 954 ค่าความน่าจะเป็น (P - Value) เท่ากับ 0.13229 ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน GFI = 0.933 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว AGFI = 0.924 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปของคะแนนมาตรฐาน SRMR = 0.0166 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ RMSEA = 0.00923 แสดงว่า โมเดลมีความตรง เชิงโครงสร้าง

Article Details

How to Cite
เหล่าบุราณ ท. (2020). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 314–326. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/247537
บท
บทความวิจัย

References

โณทัย อุดมบุญญานุภาพ. (2545). คุณลักษณะครูรุ่นใหม่กับการปฏิรูปหลักสูตรการผลิตครในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(3), 22-31.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ผลการวิจัยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2556). การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมทางวิชาการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัจนารัตน์ ควรดี และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 27(93), 12-20.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยสุทธิ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลด์ส.

วิภาพรรณ พินลา และคณะ. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรูของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ห้าง หุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2554). เอกสารประกอบการสัมมนาเข้มครั้งที่ 1 ชุดวิชาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับ ศึกษาศาสตร์ (20904). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อ่องจิต เมธยะประภาส. (2558). คุณลักษณะของครูและนักเรียนในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2560 จาก GotoKnow: https://Www.Gotoknow.Org/Posts/589309