การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร

Main Article Content

สวรรยา จินดาวงค์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรโดยรวม 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ 4) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ด้านการบรรลุเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเปิดตารางของ Krejcie และ Morgan ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ด้วยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ใช้สถิติเชิงอนุมาณ (Inferential Statistics) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ โดยการใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณทดสอบค่าความทนทาน (Tolerance) และค่า VIF (Variance Inflation Factors) และทดสอบสมมติฐานด้วยการใช้การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ทุกด้าน ได้แก่ ด้านค่าใช้จ่าย และด้านอัตราภาษีเงินได้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรทุกด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ และด้านการบรรลุเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
จินดาวงค์ ส. (2020). การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 276–288. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/247534
บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2560). โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่เริ่มใช้ปี 2560. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2562 จาก http://www.rd.go.th/publish/57043.0.html

นิพันธ์ เห็นโชคชัยและศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2545). คู่มือการสอบบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็นเพรส.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วัลลภ ลําพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2546). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aaker, D. A. (2014). Aaker on Branding 20: Principles that Drive Success. New York: Morgan James Publishing.

CPD & ACCOUNT. (2563). CONTENT and ITS’ VALUE นำเสนอข้อมูลมีมูลค่าเพิ่มศักยภาพสื่อสารนักบัญชียุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ.

Gable. (1986). Instrument development in the affective domain. Boston: MA: Kluwer–Nijhoff.

Hair, J. F. et al. (2006). Multivariate Data Analysi. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Wainer, H. & Braun, H. I. (1988). Test Validity. Hilldale: NJ: Lawrence Earlbaum Associates.