ข้อคิดการกระจายอำนาจการปกครองในสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่มีต่อประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงรูปแบบการปกครองแบบการกระจายอำนาจโดยการปกครองของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย จะเห็นว่าการกระจายอำนาจถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่มีภารกิจถ่ายโอนอำนาจในการตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจ จากภาครัฐส่วนกลางไปยังองค์กรต่าง ๆ ให้บริหารจัดการได้ด้วยตนเอง อีกทั้งการกระจายอำนาจการปกครองของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีรูปแบบเด่นชัด กล่าวคือ มีการบริหารจัดการจังหวัดที่เกิดจากความต้องการของประชาชน มีการจัดเก็บภาษีสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้จังหวัดของตนเอง อีกทางหนึ่งประเทศไทย ถือว่ามีการบริหารราชการแบบกระจายอำนาจอยู่เช่นกัน แต่ยังมีความแตกต่างกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีวิวัฒนาการทางด้านการเรียกร้องการกระจายอำนาจในแต่ละที่แตกต่างกันมียุคอาณานิคม ยุคหลังประกาศเอกราช และยุคปฏิรูปหรือยุคปัจจุบันของอินโดนีเซีย แต่ไทยเกิดขึ้นเพียงจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่เป็นต้นกำเนิดการกระจายอำนาจ หากนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับไทยนั้น จะพบได้ว่าสิ่งที่เหมือนกันคือ การถูกแทรกแซงการปกครองด้วยรัฐบาลทหาร แต่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย หลังจากสิ้นสุดยุคนายพลทหารซูฮาร์โตก็ไม่เคยกลับไปมีรัฐบาลที่มาจากทหาร และยากที่จะกลับไปเป็นประเทศที่เป็นรูปแบบของการรวมศูนย์อำนาจ แต่กลับเป็นประเทศไทยที่รัฐบาลนั้นมีการสลับสับเปลี่ยนที่เป็นทั้งพลเรือนและทหารมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน และปัจจุบันสาธารณรัฐอินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นเรื่องการกระจายอำนาจในการบริหาร สู่ท้องถิ่น และสำหรับประเทศไทยยังถือว่าต้องมีการแก้ไข และปฏิรูปการปกครองเพื่อความเป็นอำนาจอธิปไตยจะกลับมาที่ประชาชนอย่างแท้จริง
Article Details
References
ชำนาญ จันทร์เรือง. (2561). มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645459
ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2555). ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย: รัฐจารีตบนหมู่เกาะความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม และสาธารณรัฐแห่งความหลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
ประคอง มาโต และปิยะ ตามพระหัตถ์. (2562). รูปแบบการปกครองกับการเมืองการปกครองของไทย. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 171-182.
ภานุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. (2556). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ศาสตรินทร์ ตันสุน. (2560). รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง: ความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 28-48.
สุภัทร ชูประดิษฐ์ และคณะ. (2562). แนวคิดการสร้างภาคีหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชนเพื่อยกระดับการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 5(1), 469-483.
Bardhan, P. (2002). Decentralization of governance and development. Journal of Economic perspectives, 16(4), 185-205.
Devas, N. (1997). Indonesia: what do we mean by decentralization?. Public Administration and Development. The International Journal of Management Research and Practice, 17(3), 351-367.
Enikolopov, R. & Zhuravskaya, E. (2007). Decentralization and political institutions. Journal of public economics, 91(11-12), 2261-2290.
Firman, T. (2009). Decentralization reform and local‐government proliferation in Indonesia: Towards a fragmentation of regional development. In Review of Urban & Regional Development Studies. Journal of the Applied Regional Science Conference, 21(2). 143-157.
Fisman, R. & Gatti, R. (2002). Decentralization and corruption: evidence across countries. Journal of public economics, 83(3), 325-345.
Matsui, K. (2003). Decentralization in Nation State Building of Indonesia. IDE Research Paper No. 2. Institute of Developing Economies (IDE-JETRO). Retrieved August 1, 2020, from https://ir.ide.go.jp/dspace/bitstream/2344/ 810/1/ARRIDE_ResearchPapers_No.2_matsui.pdf
Nasution, A. (2017). The government decentralization program in Indonesia. In Central and Local Government Relations in Asia. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing.
Robison, R. (2005). Fragmentation or nation-building?, in Burnell, P. & Randall, V., eds.Politics in the Developing World. Oxford: Oxford University Press.
Sulistiyanto, P. & Erb, M. (2005). Introduction’, in Erb, M., Sulistiyanyo, P.& Faucher, C., eds. Regionalism in Post-Suharto Indonesia. Abingdon, New York: RoutledgeCurzon.
Tikson, D. T. (2008). Indonesia towards decentralization and democracy’, in Sato, F., ed. Foundations for Local Governance: Decentralization in Comparative Perspective. Heidelberg: Physical-Verlag.