หนังประโมทัย: การสื่อสารวรรณกรรมท้องถิ่นผ่านวรรณศิลป์เงาแสง

Main Article Content

วรเชษฐ์ โทอื้น
พีรพงษ์ แสนสิ่ง

บทคัดย่อ

           บทความนี้ต้องการสะท้อนกระบวนการสื่อสารวรรณกรรมพื้นบ้านผ่านวรรณศิลป์การแสดงของหนังประโมทัยมรดกที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้สั่งสม สืบทอด และปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยมาตามวิถีการสืบทอดที่อาศัยการบอกเล่า จดจำ ทำตามครู รู้แบบซึมซับ และรับความพอใจ การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและจิตใจของวิถีชาวบ้าน การกล่อมเกลาทางสังคมสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความคิด ความเชื่อ ศาสนา รูปแบบ เครื่องมือและกระบวนการที่นำมาใช้ เป็นต้น ศิลปะการแสดงหลักของภาคอีสานที่ถ่ายทอดวิถีชีวิตที่แท้จริงของชาวอีสานที่เรียกว่า “หมอลำ” คือเครื่องมือและกระบวนการที่สำคัญในการกล่อมเกลาทางสังคม การนำหนังประโมทัยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาทางสังคมผ่านวรรณกรรมทางพุทธศาสนา วรรณกรรมไทย และวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นมิติหนึ่งของของวรรณศิลป์อีสาน หนังประโมทัยเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการแสดงท้องถิ่นที่สร้างความบันเทิงให้กับผู้คนในท้องถิ่น การสรรสร้าง การเติมเต็มงานมงคลให้กับผู้ว่าจ้าง และการสร้างรายได้ให้กับคณะผู้แสดงหนังประโมทัยเอง โดยผ่านวรรณกรรมพระพุทธศาสนาและวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างลงตัว แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่และการกลืนทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วัฒนธรรมยุโรป เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำบางประการต่อวรรณกรรมท้องถิ่นที่ถ่ายทอดศิลปะการแสดงผ่านเงาแสงของหนังประโมทัยที่กำลังจะเลือนหายไปจากสังคม ต่อไปคงจะเหลือเพียงบางสิ่งที่จะบ่งบอกถึงคุณค่าและความรุ่งเรืองของวรรณศิลป์และวรรณกรรมของบรรพบุรุษในนามของ “พิพิธภัณฑ์” ให้คนรุ่นหลังได้ทบทวน

Article Details

How to Cite
โทอื้น ว., & แสนสิ่ง พ. (2020). หนังประโมทัย: การสื่อสารวรรณกรรมท้องถิ่นผ่านวรรณศิลป์เงาแสง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 71–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246725
บท
บทความวิชาการ

References

ครูมนตรี โคตรคันทา. (2563). หนังประโมทัยอีสาน. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.isangate.com/new/drama-acting/156-pramo-tai.html

จารุวรรณ ขำเพชร. (2555). พื้นที่เมืองและชีวิตคนในซอยคาวบอย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุมเดช เดชภิมล. (2531). หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์. (2554). ภาพตัวแทน ความกมาย และความเป็นเมือง: บทวิเคราะห์เชิง Lefebvrian สู่สถาปัตยกรรม. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8(2), 75-87.

บทความหนังประโมทัย. (2563). ศิลปะการแสดงอีสานที่กำลังจะเลือนหาย... เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 จาก https://sites.google.com/site/hnangpramothai/home

ประจวบ จันทร์หมื่น. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาชนบท. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). คนข้ามเพศ: ตัวตน วัฒนธรรมย่อยและพื้นที่ทางสังคม. วารสารดำรงวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 98-125.

วิพจน์ วันคำ. (2562). การสืบสานและการสร้างคุณค่าประเพณีจุดไฟตูมกาจังหวัดยโสธร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร.

วุฒินันท์ แท่นนิล. (2551). การสร้างพื้นที่ทางสังคมเพื่อหลีกหนีความเป็นชายขอบของคนพลัดถิ่นชุมชนกะเหรี่ยงพลัดถิ่น ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยาเนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สารสนเทศท้องถิ่น ณ อุบลราชธานี. (2563). หนังประโมทัย หนังบักตื้อ หนังตะลุงอีสาน. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th /esaninfo/?p=5315

อิทธิญาณเมธี ภิกขุ. (2554). ผญาฮีตสิบสอง. เรียกใช้เมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 จาก http://dhammajonson.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

อุดม หนูทอง. (2531). ดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ สงขลา.