การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการ อาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

Main Article Content

สมพร ปานดำ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และ 2) พัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กระบวนการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ข้อ โดยมีผลการวิจัยและมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานและความต้องการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม พบว่า ในภาพรวมสภาพการดำเนินงานยังไม่เป็นตามความต้องการที่คาดหวัง โดยมีค่าเฉลี่ยสภาพการดำเนินงานในระดับปานกลาง ( gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 3.21, S.D. = 0.64) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยความต้องการที่คาดหวังอยูในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.55, S.D. = 0.55) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ทุกรายการ (PNI =0.422) โดยมีค่าพิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.417 – 0.423 2) ผลการกำหนดแนวทางและกลไกการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ค้นพบ แนวทางการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 33 แนวทาง และ กลไกขับเคลื่อนการพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 72 กลไก ตามองค์ประกอบของแนวคิดเชิงระบบ ประกอบไปด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 14 แนวทาง และ 38 กลไก 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 17 แนวทาง และ 28 กลไก และ 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย 2 แนวทาง และ 6 กลไก

Article Details

How to Cite
ปานดำ ส. (2020). การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการ อาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 381–397. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246275
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2558). ปัญหาแรงงานไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก http://www.dailynews co.th/content/edu/22515

ณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์. (2561). การปฏิรูประบบการศึกษาไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน: การปฏิรูปอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ธนาคาร คุ้มภัยและคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเรื่องเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(1), 33–41.

ปรีดี เกตุทอง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน เอกสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Asian Development Bank. (2017). Key Indicators for Asia and the Pacific 2017. 48th edition. Mandaluyong City, 1550 Metro Manila, Philippines: 6 ADB Avenue.

Hitendra Pillay et al. (2017). Creative Training Techniques Handbook. Minneapolis, MN: Lakewood.