รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดน่าน

Main Article Content

สุนิสา สกุลเกื้อกุล
หยกแก้ว กมลวรเดช
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดน่าน และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดน่าน โดยใช้รูปแบบวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 10 คน ครูผู้สอน จำนวน 15 คน ครูวิชาการ จำนวน 15 ครูที่รับผิดชอบการเรียนร่วม จำนวน 20 คน และผู้ปกครอง จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน การวิจัยครั้งนี้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากโรงเรียนจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาสภาพปัญหารายด้านทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน มีดังนี้ 1) ด้านวิชาการ ควรปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นหลักสูตรเฉพาะให้ชัดเจน 2) ด้านบุคลากร ควรจัดอบรมเรื่องการจัดการศึกษาพิเศษให้กับครู และให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องของการศึกษาพิเศษ 3) ด้านงบประมาณ โรงเรียนจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ขอสนับสนุน จากหน่วยงานภายนอก 4) ด้านสภาพแวดล้อม ควรปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

Article Details

How to Cite
สกุลเกื้อกุล ส., กมลวรเดช ห., & รุจิเมธาภาส ส. (2020). รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดน่าน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 363–380. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246272
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). รายงานสภาพการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กและเยาวชนพิการในโรงเรียนปกติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชชบัญญัติการศึกษแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

กองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก. (2556). การเคลื่อนไหวลักดันรัฐ/สังคมทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่. เรียกใช้เมื่อ 10 ตุลาคม 2562 จาก http://www.autistic thailand.com/aucontent/ mainmenu2007.htm

ชมบุญ แย้มนำ. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

พงษ์ธร วชิระปราการพงษ์. (2559). การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พัชรา เชื้อประดิษฐ์. (2556). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัด การศึกษาแบบเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 7(2), 51-65.

พัชริดา นิลสุข. (2558). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รจเรข พยอมแย้ม. (2547). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการในโรงเรียนปกติ. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รดา ธรรมพูนพิสัย. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วินัย หนูรัตน์. (2552). ศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมเด็กพิเศษกับเด็กปกติ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมจิต ทองเกต. (2559). กลยุทธ์การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การบริหารจัดการกฎกระทรวงเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ ตำรา ความ ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ครูการศึกกาพิเศษและนักวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อรทัย แสนชัย. (2559). การจัดการการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 10(2), 251-259.

อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.