ศึกษาคติธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาคติธรรมในการบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์ และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการศพในพระพุทธศาสนามี 4 วิธีการ คือ การทิ้งศพในป่า การนำศพฝังดิน การนำศพเผาไฟ และการนำอัฐิธาตุบุคคลสำคัญก่อเจดีย์ไว้บูชา ส่วนพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพมีเฉพาะพระพุทธเจ้า พระพุทธบิดา และพระสาวกบางองค์ ส่วนบุคคลทั่วไปเมื่อเสียชีวิตญาติจะนำศพไปทิ้งในป่า ฝังดินหรือเผาศพ 2) การบำเพ็ญกุศลศพของชาวพุทธอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จัดขึ้นตามความเชื่อ สถานทางสังคม และพระพุทธศาสนา พิธีกรรมมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนการบำเพ็ญกุศลศพ ขั้นตอนการบำเพ็ญกุศล ขั้นตอนการผาศพ และขั้นตอนหลังการเผาศพ นำพิธีกรรมมาเป็นสื่อกลางระหว่างเจ้าภาพกับผู้ร่วมงาน เป็นการให้กำลังใจแก่เจ้าภาพและเป็นเกียรติแก่ผู้ตาย และเรียนรู้คุณธรรมและสัจธรรมร่วมกัน 3) คติธรรมในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพแฝงด้วยปรัชญาชีวิต การใช้ภูมิปัญญานำพิธีกรรม พิธีกรรมจึงห่อหุ้มสัจธรรม เหมือนเปลือกไม้ห่อหุ้มกระพี้และแก่นของต้นไม้ เพราะพิธีกรรมได้สอดแทรกข้อคิดและคติธรม พิธีกรรมจึงเป็นการเชื่อมโยง สู่คุณธรรมและสัจธรรมสะท้อนให้เห็นความจริงของชีวิตตั้งแต่เกิดถึงตาย พิธีกรรมและคติธรรมจึงมีคุณค่าและประโยชน์ต่อชีวิตที่นำไปสู่การบำเพ็ญประโยชน์ตนและสังคม
Article Details
References
ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ และพีรพงษ์ มาลา. (2558). วิเคราะห์คติธรรมจากประเพณีการบำเพ็ญกุศลศพของชุมชนตำบลกลันทา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสถาบันพิมลธรรม, 3(1), 43–44.
ปรีชา นุ่นสุข. (2544). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. คณะกรรมการการวิจัยศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมของกระทรวงศึกษาธิการ.
พระครูกันตธรรมาภิวัฒน์ (คุ้มบัวลา). (2556). ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมการฌาปนกิจของชาวบ้านขอนแก่นเหนือ ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูกัลยาณธรรมโฆษ (รุ่ง กลฺยาโณ). (2554). การศึกษาคติธรรมจากประเพณีงานศพ: กรณีศึกษาชุมชนตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูพิพิธธรรมจักร (ทองอินทร์ รุ่งเรือง). (2558 – 2559). ศึกษาหลักปริศนาธรรมในพิธีบำเพ็ญกุศลของชาวตำบลน้ำเค็ม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารธรรมทรรศน์, 15(3), 67–76.
พระครูวรวิริยคุณ. (25 ตุลาคม 2562). ปริศนาธรรมเกี่ยวกับศพ: อุบายการเข้าถึงความจริงของชีวิต. (พระครูโชติปัญญาโสภณ (เนื่อง โชติปญฺโญ), ผู้สัมภาษณ์)
พระครูสุวัฒนาภรณ์ (ภัทร อริโย). (25 ตุลาคม 2562). คติธรรมในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพ. (พระครูโชติปัญญาโสภณ (เนื่อง โชติปญฺโญ), ผู้สัมภาษณ์)
พระครูอุทัยปริยัติโกศล (เสถียร ยอดสังวาล). (2554). ปริศนาธรรมเกี่ยวกับประเพณีการตายของภาคอีสาน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโอภาสวุฒิคุณ (สว่าง อรุโณ). (28 ตุลาคม 2562). คติธรรมในพิธีกรรมการบำเพ็ญกุศลศพ ตามไฟหน้าหีบศพ สายสิญจน์. (พระครูโชติปัญญาโสภณ (เนื่อง โชติปญฺโญ), ผู้สัมภาษณ์)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2558). ประเพณีเนื่องในการตาย. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2562 จาก https://hugepdf.com/download/_pdf