รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวกีฬาดำน้ำตามแนวคิด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

สัคคยศ สังขพันธ์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวกีฬาดำน้ำตามแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ด้วยกระบวนการบริหารจัดการ POLC โดยกระบวนการวิจัยแบบเดลฟายประยุกต์โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ จำลองรูปแบบและยืนยันรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการวางแผน (Planning) 5 องค์ประกอบคือจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดการทรัพยากรบุคคล พัฒนาบริการและการตลาด พัฒนาชุมชนท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) ด้านการจัดการองค์กร (Organizing) 10 องค์ประกอบ คือ กรมการท่องเที่ยวออกแบบโปรแกรม อุทยานแห่งชาติดูแลกิจกรรม สำนักงานการท่องเที่ยวพัฒนาคน หน่วยกู้ภัย ตำรวจน้ำ ตำรวจภูธรและองค์กรบริหารส่วนตำบลดูแลความปลอดภัย กรมเจ้าท่าดูแลเรือ ตำรวจท่องเที่ยวตรวจมัคคุเทศก์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ประกอบการจัดเตรียมสิ่งอำนวยสะดวก องค์การบริหารส่วนตำบลและโรงพยาบาลดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยว เครือข่ายในท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานบริการ มัคคุเทศก์และครูสอนดำน้ำออกแบบกิจกรรมแนะนำให้เคารพกติกาการใช้ทรัพยากร 3) ด้านการนำ (Leading) 13 องค์ประกอบ คือ สนับสนุนงบประมาณ เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมนำไปฟื้นฟูทรัพยากร ออกกฎหมายและบังคับใช้ เปิดหลักสูตรทางการศึกษาให้กับคนในพื้นที่ วางผังเมือง นำนักท่องเที่ยวส่งถึงชุมชน ออกแบบโปรแกรม วางกลไกให้ชุมชนเข้าถึงการท่องเที่ยวทำข้อตกลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่และดูแลรักษา สร้างความเข้าใจเรื่องกฎหมาย มาตรฐานและแนวปฏิบัติ รับฟังปัญหาแก้ไขความไม่สะดวก ส่งเสริมการรวมกลุ่ม เตรียมบริการและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ให้มีมัคคุเทศก์ในการทำกิจกรรมทุกครั้ง 4) ด้านการควบคุม (Controlling) 7 องค์ประกอบ คือ เปิดปิดฤดูกาลการท่องเที่ยว แบ่งพื้นแหล่งดำน้ำ จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ติดตั้งทุ่น สอดส่องดูแลบังคับใช้กฏหมาย ควบคุมมาตรฐานการให้บริการ บริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน

Article Details

How to Cite
สังขพันธ์ ส. (2020). รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวกีฬาดำน้ำตามแนวคิด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 324–334. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246262
บท
บทความวิจัย

References

เกษม บุญอ่อน. (2522). เดลฟาย: เทคนิคการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: คุรุปริทัศน์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

. (2562). การสัมมนาแนวทางการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสตูล. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2562 จาก http://thainews.prd.go.th

คณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสตูล. (2563). การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2563 จาก http://www.harvardasia.co.th/wp–content/ uploads/2019/09/stunplan.pdf

นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. (2554). การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัท แบรนด์ แมทริก รีเสิร์ช จำกัด. (2554). โครงการศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มด้านการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำ. ใน รายงานการวิจัย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ภาสิณี วรชนะนันท์ และคณะ. (2555). การศึกษาการพัฒนาแหล่งดำน้ำและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการท่องเที่ยวดำน้ำในเขตพัทยา. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรวินทุ์ สุวัณ ณ เขมรัฐ และคณะ. (2547). ศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2561). กลยุทธ์การยกระดับการตลาดท่องเที่ยวเชิงวัตฒนธรรมเมืองรองจังหวัดสิงห์บุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). รายงานสภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2563 จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link .php?nid=7533