การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

Main Article Content

คมกริช นุราช
พีระศักดิ์ วรฉัตร

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึ่งประสงค์      2) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 85 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารงานวิชาการ และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 255 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 แบ่งออกเป็น 4 ตอน       1) ศึกษาแนวทางการดำเนินงาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารวิชาการ รวม 6 คน 2) ยกร่างแนวทางการดำเนินงานวิชาการ 3) ตรวจสอบยืนยันและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ของการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{x}  = 2.41) และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.56) ส่วนแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง พบว่า แนวทางมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}  = 3.90, S.D. = 0.73) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.12, S.D. = 0.64)

Article Details

How to Cite
นุราช ค. . ., & วรฉัตร พ. . (2020). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 60–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246255
บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2543). การนิเทศการศึกษา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยพลับบลิค เอ็ดดูเคชั่น.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการ. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ทิศนา แขมณี. (2545). ระบบการออกแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ สามะณี. (2556). สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 21. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เทียมฝ่าการพิมพ์.

มณีรัตน์ อภิวัฒนวรรณ. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลักขณา สริวัฒน์. (2543). สุขวิทยาและการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสไตร์.

สมพิศ โห้งาม. (2553). การวางแผนการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปี 2562. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.

หรรษา นิลวิเชียร. (2547). ปฐมวัย หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

Jonathan, B. R. (2010). Academic Optimism And Organizational Climate: An Elementary School Effectiveness Test Of Two Measures. Doctor’s Thesis. Alabama: University of Alabama. Retrieved November 26, 2019, from http://search.proquest.com/docview/851889195/fulltextPDF/FACD11A8220

UNESCO. (2014). Education in Asia and the Pacific: Reviews Reports and Notes. Retrieved November 26, 2019, from http://unesdoc.unesco.org/images/ 0009/000915/091512EB.pdf