แนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

Main Article Content

วีระศักดิ์ วงศ์นาแค
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน 2) พัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น แบ่งเป็น 4 ตอน คือ 4.1) ศึกษาแนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน 3 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู ซึ่งเป็นการเลือกแบบเจาะจง 4.2) ร่างแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 4.3) ตรวจสอบยืนยันแนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน 4.4) ประเมินแนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ ยืนยัน ประเมินความเป็นไปได้ และความเหมาะสม คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การบริหารการจัดกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน ประกอบด้วย 7 กิจกรรม 58 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาแนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วงศ์นาแค ว., & ธรรมทัศนานนท์ ส. (2020). แนวทางการบริหารกิจกรรมสภานักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 283–295. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246253
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนาธิป สำเริง. (2560). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานสภานักเรียนที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ประกอบ สาระวรรณ. (2548). การนำเสนอรูปแบบสภานักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภิญโญ เพ็งดา. (2550). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน ในจังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สมพงษ์ แป้นพุฒเย็น. (2555). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนของโรงเรียนวังแขมวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 237–250.

Arbuckle, J. J. (1995). AMOS user’s guid. Chicago: Small Waters Corporation.