การจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เอกชัย ชำนินา

บทคัดย่อ

        บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะในการจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนวิธีการวิจัย   เชิงเอกสารนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดภูเก็ตมีสภาพปัญหาที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีความเสี่ยงจากภัยที่อาจเกิดจากการทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ บนพื้นที่ชายฝั่งทะเล ภัยจากการจมน้ำเสียชีวิต ร่องกระแสน้ำที่พัดไหลออกจากฝั่ง (Rip Current) ที่เกิดจากปัญหาของการเพิกเฉยและละเมิดสัญลักษณ์ที่เจ้าหน้าที่ได้ใช้ในการให้ข้อมูลหรือเตือนภัย สภาพปัญหาความปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ พบปัญหาการหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว สภาพปัญหาความปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแอบอ้างใช้ตราเครื่องหมายหรือชื่อย่อของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อหลอกลวงนักท่องเที่ยว สภาพปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสภาพปัญหาการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่เกิดจากการขาดการรับข้อมูลการช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ของจังหวัดภูเก็ต ด้านการศึกษาองค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยต้องมีการจัดทำนโยบายด้านการจัดการความปลอดภัยที่เป็นนโยบายและแผนปฏิบัติในทิศทางเดียวกันสำหรับการบริหารทุกระดับ ด้านแนวทางในการจัดการความปลอดภัยประกอบด้วย 1) มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ 2) มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน       3) มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการถูกหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ 4) มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  5) มาตรการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
ชำนินา เ. . (2020). การจัดการความปลอดภัยการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 174–189. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/246252
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ฉากทัศน์การท่องเที่ยวไทยหลัง COVID - 19. เรียกใช้เมื่อ 30 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/
650126

เทศบาลนครภูเก็ต. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561 - 2565). ภูเก็ต: เทศบาลนครภูเก็ต.

นิง คั้น ยุย / Ninh Khanh Duy. (2561). แนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมให้แก่นักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา กองบัญชาการตำรวจนครบาลฮานอย ประเทศเวียดนาม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิต, 7(2), 25-34.

ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ และหควณ ชูเพ็ญ. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: วิเคราะห์กรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชฏสวนสุนันทา, 2(2), 468-477.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. ภูเก็ต: สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต.

Bailey, A. C. (2007). A Guide to Qualitative Field Research. (2nd ed.). Thousand Oaks: CA: Sage.