ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูต่อการ บริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 5 ด้านได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 108 คน ได้จากการใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่ม แบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า (t – test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและระดับการศึกษา พบว่าโดยรวมและทุกด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ถวิล ทึมมา. (2558). บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศภายในด้านวิชาการกับขวัญของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจงัหวัดสิงห์บุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วรเวทย์ แป้นนอก. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: เพิ่มทรัพย์.
สมชาย คําปลิว. (2559). บทบาทของการบริหารงานวิชาการของผูบริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา อําเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อิลฮาม อาเก็ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). New York: Harper & Collins.
Krejcie. R. V. & Morgan, E. W. (1970). Determining sample size for research . Education and Psychological Measurement, 30(10), 608.
Likert, R. (1967). The human organization. New York: McGraw – Hill.