ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2

Main Article Content

อภินันท์ ข่าขันมะลี

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 2) ศึกษาความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ อำนาจอ้างอิง อำนาจเชี่ยวชาญ อำนาจการให้รางวัล อำนาจบังคับ และอำนาจตามกฎหมาย ตามลำดับ 2) ความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความสำเร็จในงาน การเป็นที่ยอมรับ ความรักในงาน และ การติดต่อสัมพันธ์ ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การใช้อำนาจการให้รางวัล และอำนาจความเชี่ยวชาญ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนการใช้อำนาจการบังคับ อำนาจตามกฎหมาย อำนาจการอ้างอิง มีความสัมพันธ์กับการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับต่ำ

Article Details

How to Cite
ข่าขันมะลี อ. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 156–166. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/244532
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ ชูกลิ่น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำและการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 8(1), 98-111.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. หมอชาวบ้าน, 30 (349), 18-25.

ชานน ตรงดี. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่หนองคาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บังอร มูลทรัพย์. (2556). ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์เครือข่ายทุ่งใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ใน สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. (2561). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปีงบประมาณ 2561. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychology Measurement, 3(30), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic. M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Manion, J. (2003). Joy at work: Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Ringrose, C. K. (1997). An enploratory study of relationship between the teacher perception of the bases of power used by selected elementary principals, the management systems of the principals. Dissertation Abstracts International, 38(2), 59-A.