การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน

Main Article Content

น้ำฝน ปานเนาว์
อุฤทธิ์ เจริญอินทร์

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหารายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 11 คน โดยได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง หลังจากการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา จากนักเรียนในชั้นเรียนเดียวกันทั้งหมด 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ลักษณะแบบทดสอบจะเป็นแบบอัตนัย จำนวน 3 ชุด 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาของผู้เรียน 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 4) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องไฟฟ้ากระแส จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ รวมเวลา 15 ชั่วโมง การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยกระบวนการทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล โดยแบ่งออกเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 – 3 วงจรปฏิบัติการที่ 2 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 – 7 วงจรปฏิบัติการที่ 3 ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 – 10 โดยจะทำการประเมินผลโดยทำการทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้นในแต่ละวงรอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ


          ผลการวิจัยพบว่า: นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน เพิ่มขึ้น โดยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการแก้ปัญหา ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 65.57 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 68.43 และการประเมินเมื่อสิ้นสุดวงรอบปฏิบัติการที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 79.85 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน สามารถพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนได้

Article Details

How to Cite
ปานเนาว์ น., & เจริญอินทร์ อ. (2020). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 77–91. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/244524
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุญชรี ค้าขาย. (2540). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเลารัจ. (2541). คิดเก่ง สมองไว. กรุงเทพมหานคร: โปรดัคทีฟบั๊ค.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2544). เมตาคอกนิชัน (Metacognition) ในวิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วินิจฉัย ไชยขันธ์. (2550). การใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรีสุมา ทัศมี. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้เมตาคอกนิชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน พังโพนวิทยาคม อำเภอพังโพน จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุขสันต์ บัวสาย. (2551). ผลการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้สอดแทรกเมตาคอกนิชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองน้ำใสวิทยาคาร จังหวัดสระแก้ว. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Baker, L. & Brown, A. L. (1984). Metacognition Skill and Reading: Handbook of Reading Research. New York: Longman.

Guilford, J. P. (1992). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1992). The Action Research Planner. (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.

Woolfolk, A. E. & Hoy, W. K. (1990). Prospective Teachers’ Sense of Efficacy and Beliefs about Control. Journal of Educational Psychology, 82, 81-91.