การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยปฏิบัติการในห้องเรียน มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน จากนักเรียนทั้งหมด 29 คน ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ณ โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา 2562 โดยการพัฒนาความมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก ไม่อิงเนื้อหา แยกเป็น 3 องค์ประกอบ องค์ประกอบละ 10 ข้อ รวมเป็น 30 ข้อ ใช้เวลาทำ 1 ชั่วโมง และแบบสัมภาษณ์นักเรียนที่ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านครูผู้สอน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน
ผลการวิจัยพบว่า: นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 โดยในวงรอบปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวน 7 คน และพบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 8 คนไม่ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดเนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เหมาะสม ส่วนในวงรอบปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวน 12 ยังเหลือนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์อีกจำนวน 3 คนเนื่องจากขาดแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน และในวงรอบปฏิบัติการที่ 3 พบว่านักเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดเนื่องจากระยะเวลาและความคุ้นชินในการทำกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของ สป. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).
ชลธิชา พลชัย และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E). GNRU รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ, 17, 772-783.
ณัฏฐพงษ์ เจริญทิพย์. (2542). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์: ทัศนะแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์ลิพเพลส.
ดิลก ดิลกานนท์. (2534). การฝึกทักษะการคิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 136-154.
พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2), 73-90.
พิมพ์รภัช เตชาธนะเกียรติ์ และอัญชลี ทองเอม. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้บทเรียนประกอบเกมวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2, 27-38.
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานร่วมกับการใช้แผนที่มโนทัศน์.ใน การวิจัยในชั้นเรียน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร ปักกาโล. (2558). การใช้ปัญหาเป็นฐานพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). รายงาน PISA 2015. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2561 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/reports/2015/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.
Sahlberg, P. (2015). Finland’s school reforms won’t scrap subjects altogether. The Conversation. Retrieved August 8, 2019, from http://theconversation. com/finlands-school-reforms-wont-scrap-subjects-altogether-39328
Widya, P. & Baskoro, A.P. (2019). Effectiveness of a Generative Learning-Based Biology Module to Improve the Analytical Thinking Skills of the Students with High and Low Reading Motivation. International Journal of Instruction, 12(1),1459-1476.
Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL? Retrieved August 7, 2018, from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-what-is-pbl