แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชน ตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 1,218 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 21 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า: 1) ระดับแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.078) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านศักยภาพชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (
= 3.354) รองลงมา ได้แก่ ด้านนวัตวิถีชุมชน (
= 3.066) และด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม (
= 3.017) ส่วนด้านประสิทธิภาพทางการตลาดและการกระจายผลผลิตของชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (
= 2.968) เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า การส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับปานกลาง 2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่มนวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดน โดยที่ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ต้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมจากจังหวัด และการโปรโมทกิจกรรมในวงกว้าง ท้องถิ่นต้องปรับปรุง ภูมิทัศน์ที่ชำรุดทรุดโทรม ควรได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซมตั้งแต่ประตูทางเข้า ไฟฟ้าแสงสว่าง ความสะอาดบริเวณพื้นที่ ถนนหนทางไม่สะดวก ส่งเสริมการรวมกลุ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ไปสู่กลุ่มใหญ่ ต้องมีการแปรรูปสินค้า
Article Details
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย. เข้าถึงได้จาก https://yala.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/47/2018/05/คู่มือ-OTOP-นวัตวิถี.pdf
ชายชาญ ปฐมกาญจนา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบ มีส่วนร่วม ของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสาร วิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 118-129.
ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 186-193.
ทิพาพร ไตรบรรณ์. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา หมู่บ้านอรัญญิก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และคณะ. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครศรีธรรมราช: วีพีเอส.
สายัณห์ ชลสาคร. (11 มกราคม 2562). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่ม นวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (สุริยา ล่องแก้ว, ผู้สัมภาษณ์)
สุภาพร คำภีระ. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและประวัติศาสตร์หมู่บ้านสันติสุข ขององค์การบริหารส่วนตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา. เรียกใช้เมื่อ 11 มกราคม 2562 จาก https://newtdc.thailis. or.th/docview.aspx?tdcid=6633
อัจฉรา แก้วหนูนวล. (11 มกราคม 2562). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการสร้างมูลค่าเพิ่ม นวัตวิถีชุมชนตลาดริมน้ำคลองแดน ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (สุริยา ล่องแก้ว, ผู้สัมภาษณ์)
อิทธิพล ไทยกมล. (2544). ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์: กรณีศึกษาชุมชนตำบลหญ้าแพรก จังหวัดสมุทรสาคร. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.