แนวทางการจัดการสุขภาวะของพระภิกษุ – สามเณร ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำให้ทราบถึงแนวทางการจัดการสุขภาวะของพระพระภิกษุ – สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) ทำให้ทราบถึงผลการจัดการสุขภาวะของพระพระภิกษุ – สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ผลการวิจัยพบว่า: 1) แนวทางการจัดการสุขภาวะของพระภิกษุ – สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริโภคอาหาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (
= 3.48) รองลงมา คือ ด้านการออกกำลังกาย (
= 3.41) ส่วนด้านสุขอนามัยและด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย (
= 3.40) ส่วนด้านอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (
= 3.39) 2) ผลการจัดการสุขภาวะของพระพระภิกษุ – สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า พระพระภิกษุ – สามเณรส่วนใหญ่รับรู้ภาวะสุขภาพของตน มีพฤติกรรมการฉันบริโภคอาหารครบทั้ง 5 หมู่ มีพฤติกรรมการล้างมือก่อนฉันอาหารทุกครั้ง ฉันอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังทำให้มีอารมณ์ดี การรับรู้ประโยชน์ของการบริโภคและการออกกำลังกาย พระภิกษุมีข้อจำกัด ในการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการออกกำลังกาย โดยการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินรอบ ๆ วัด รดน้ำต้นไม้ กวาดลานวัด บริหารร่างกาย โดยการยืดเส้นยืดสาย การรับรู้อุปสรรคในด้านการบริโภคและการออกกำลังกายของพระภิกษุ – สามเณรส่วนใหญ่รับรู้เรื่อง การฉันอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายต้องให้ครบทุกอย่างจะมากจะน้อย ก็ต้องฉัน และการออกกำลังกายเป็นเรื่องน่าอาย หากญาติโยมมีการพบเห็น ขัดต่อข้อศีลธรรมบัญญัติของพระสงฆ์
Article Details
References
จิราพร เกศพิชญวัฒนา และคณะ. (2550). สูงวัยไม่สูงค่า. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
ชรินทร์ ห่วงมิตร และคณะ. (2560). พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเครือข่ายพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. ใน รายงานการวิจัย. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีวิยาสาส์นการพิมพ์.
พระครูประภัศรธรรมวิธาน. (24 มีนาคม 2562). แนวทางการจัดการสุขภาวะของพระภิกษุ - สามเณรในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. (พระอรรถชัย ปริญฺญาโณ (จันทภาโส), ผู้สัมภาษณ์)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. เรียกใช้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก thaicamdb.info/Downloads/PDF/สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ.pdf
พระไพศาล วิสาโล. (2562). สุขภาวะทางปัญญาที่เราควรรู้จัก. เรียกใช้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.visalo.org/book/sukaparp.html
พระสุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน (สัพโส). (2557). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2556). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. (พิมพ์ครั้งที่ 1), กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
ศนิกานต์ ศรีมณีและคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช.
สนธนา สีฟ้า. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 10(1), 117-125.
สาคร อินโท่โล่. (2548). ประสบการณ์และสุขภาวะของผู้สูงอายุไทยที่ถือศีลแปดที่วัด. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aams, T. et al. (1997). The conceptualization and measurement of perceived wellness: Integrating balance across and within dimensions. American Journal of Health Promotion, 11(3), 208-218.