การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม บ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปัญญาวุธ เลขมิตร
เดชชาติ ตรีทรัพย์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของ  ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธ-มุสลิม ที่มีศาสนา เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ที่ต่างกัน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสาธารณะจิตอาสา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการขจัดขยะมูลฝอย ด้านความยุติธรรม และด้านความสัมพันธภาพทางสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ผลเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น พบว่า ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น ที่มี ศาสนา เพศ และอายุ ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ไม่แตกต่างกัน ส่วนชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น ที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น พบว่า ด้านสาธารณะจิตอาสา มีค่าความถี่มากสุด โดยชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้นให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีโครงการร่วมกันพัฒนาวัด/มัสยิด/โรงเรียน ประชาชนในชุมชนควรรณรงค์สร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
เลขมิตร ป., & ตรีทรัพย์ เ. (2020). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม บ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 32–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/242473
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2550). แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560 – 2564. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2562 จาก https://plan.cdd.go.th/

ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมชองประชาชนในการพัฒนาชนบท ในชุดวิชาการ พัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสกสรรค์ อคฺคจารี (แก้วทรัพย์). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาวัด ในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พาณี เรียงทอง และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. (2562). คู่มือจิตอาสา. เรียกใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2562 จาก https://kijakran.rpu.ac.th/ tem plate2/article _inside.php?article_id=141

เมธี จันท์จารุภรณ์ และสุธิดา รัตนวาณิชย์พันธ์. (2541). วิทยากรชุมชน: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างประชาชน. นครสวรรค์: สุขุมและบุตร.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเพทมหานคร: บางกอกบล็อก.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช.

สุมาลี ศักดิ์ดิเศรษฐ์. (27 มิถุนายน 2562). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมบ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ปัญญาวุธ เลขมิตร, ผู้สัมภาษณ์)

โสภิดา ศรีนุ่น. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัญและเอกชน. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.