ผลกระทบของการตกแต่งบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มอุตสาหกรรมบริการและเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบการตกแต่งบัญชี มูลเหตุจูงใจการตกแต่งบัญชี และการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไร ซึ่งวิเคราะห์คุณภาพกำไร 3 วิธี ได้แก่ วิธีรายการคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน วิธีรายการคงค้างจากการดำเนินการสุทธิรวม และวิธีรายการคงค้างรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่เข้าเงื่อนไข รวมจำนวนทั้งสิ้น 104 บริษัท โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการที่เปิดเผยในรายงานการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบันทึกรายได้ลวงตาเป็นรูปแบบการตกแต่งบัญชีที่พบมากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และการรับรู้รายได้เร็วเกินไปเป็นรูปแบบการตกแต่งบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพกำไรที่พบมากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยทั้ง 2 รูปแบบมีกลยุทธ์ในการตกแต่งบัญชีเช่นเดียวกัน คือ เป็นการเพิ่มกำไรในงวดปัจจุบันโดยเป็นการเพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบัน 2) มูลเหตุจูงใจการตกแต่งบัญชี คือ ความเสี่ยงจากการเป็นตัวแทน โดยมีผลกระทบต่อคุณภาพกำไรด้วยวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิรวมของบริษัทในจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการและกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และ 3) การกำกับดูแลกิจการไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพกำไรบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ แต่มีผลกระทบต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ด้วยวิธีคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียนและวิธีคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิรวม
Article Details
References
เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2554). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชนิกา อรุณวัฒนา. (2547). การศึกษาความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับรูปแบบและมูลเหตุจูงใจของการตกแต่งบัญชีในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2562 จาก https://www.set.or.th /sustainable_dev/th/cg/files/2013/CGPrinciple2012Thai-Eng.pdf.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2549). การวิเคราะห์งบการเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
บรรยง วิทยวีรศักดิ์. (2546). กลโกงการเงิน. กรุงเทพมหานคร: เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป.
พันทิพา ภาวศุทธิวงศ์. (2547). การตกแต่งตัวเลขทางบัญชี : กรณีศึกษาบริษัท รอยเนท จำกัด (มหาชน). ใน วิทยานิพนธ์การบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจภาคค่ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เมลดา บุรพกุศลศรี. (2553). การตกแต่งกำไรผ่านการใช้ดุลยพินิจในการสร้างรายการทางธุรกิจ. ใน วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative accounting และคุณภาพกำไร แล้วหรือยัง? กรุงเทพมหานคร: ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รี ซอสเซส.
วราภรณ์ สิงห์แก้วสืบ. (2560). การเปรียบเทียบคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย. ใน วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุธิดา กุดกันยา. (2552). คุณภาพกำไร : กรณีศึกษาบริษัทที่ได้รับรางวัลการกำกับดูแลกิจการที่ดี. ใน วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรกิจ คำวงศ์ปีน. (2559). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน : แนวทางและกรณีศึกษา. ใน กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Beneish, M.D. (1999). The detection of earnings manipulation. Retrieved May 20, 2019, from http://www.calctopia.com/papers/beneish1999.pdf.
Houqe, N. et al. (2010). Does corporate governance affect earnings quality: Evidence from an Emerging Market. Retrieved May 25, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/228135032.