ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรม ของวัดในล้านนา

Main Article Content

พระไพยนต์ รกฺขิตธมฺโม (ชะเอ)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรมของวัดในพระพุทธศาสนา สถาปัตยกรรมของวัด 9 วัด ในล้านนา และวิเคราะห์คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของวัดในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและออกสำรวจพื้นที่ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการเสริมข้อมูลจริง แล้วศึกษาวิเคราะห์ในรูปแบบของการอธิบายเชิงพรรณณา


          ผลการวิจัยพบว่า


          สถาปัตยกรรม หมายถึง ผลงานทางศิลปะที่แสดงออกถึงสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยทั่วไป สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ สิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณสงฆ์ที่เรียกว่า วัด ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่างอยู่คู่กับชาวไทยมาแต่ครั้งโบราณกาลอย่างแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนามีคติธรรม คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแฝงอยู่ในสถาปัตยกรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ส่วนสถาปัตยกรรมล้านนา คือ ผลงานทางศิลปะการก่อสร้างอาคารของชาวล้านนา ผ่านยุคมืดประมาณ200 ปี ขณะที่อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองของพม่า ล้านนาพยายามที่จะฟื้นฟูบ้านเมืองให้เจริญ สมัยพญากาวิละทำให้มีการซ่อมสร้าง และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมให้เจริญเป็นอย่างมาก โชคดีที่ยังเหลือหลักฐานทางโบราณคดีศิลปะสถาปัตยกรรมในยุคทองอยู่บ้าง หลักฐานยุคต้นสูญหายไป ต่อมามีการรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามความเป็นมาของสถาปัตยกรรม ในแต่ละยุคสมัยจึงมีความแตกต่างกัน และคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมของวัดล้านนาที่เป็นเจดีย์และวิหาร ได้แก่บูชา 2 การบูชา ได้แก่ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ภูมิ 31 หรือไตรภูมิ เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงดินแดน 3 คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 ในส่วนของวิหารมีคติธรรม คือ อริยสัจ 4 วิหาร เป็นอนุปาทินกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกาลเวลา บารมี 10 หรือทศบารมี เป็นการประพฤติปฏิบัติคุณธรรมอย่างยิ่งยวด

Article Details

How to Cite
รกฺขิตธมฺโม (ชะเอ) พ. (2019). ศึกษาวิเคราะห์คติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรม ของวัดในล้านนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3247–3262. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/210943
บท
บทความวิจัย

References

พระธรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. วัดราชโอรสาราม. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิต.

พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (เลิศฤทธิ์ธนกุล). (2551). “การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเสนาสนะในพระพุทธศาสนา". ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มจ. อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร. (2538). เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระจันทร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัย ตะติยะ. (2555). สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. (2544). วิหารล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง. (2543). สถาปัตยกรรมเชียงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2547). ทัศนศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2548). ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สดี ทิพทัส. (2551). เกณฑ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติ เล็กสุขุม. (2538). ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย–ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สันติ เล็กสุขุม. (2538). “หริภุญไชย-ล้านนา ศิลปะภาคเหนือ”. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สุรพล ดำริห์กุล. (2547). ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สุรพล ดำริห์กุล. (2561). ประวัติศาสตร์และศิลปะล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: เมืองโบราณ.

สุรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

เสนอ นิลเดช. (2538). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำพร มาลัย. (2540). “การศึกษาวิหารล้านนาในสมัยปกครองเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตน พ.ศ. 2317-2442 ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน”. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม . มหาวิทยาลัยศิลปากร.