ประสิทธิผลในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พระวรวัฒน์ วงษ์ขันธ์
ปิยากร หวังมหาพร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและเสนอแนวทางแก้ไขในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี ใช้การวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ ผู้เผยแผ่ จำนวน 248 รูป โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับประสิทธิผลในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 3.78).

  2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน บุคลากร การทำงานเป็นทีม สภาพแวดล้อม ภาวะผู้นำของผู้บริหาร งบประมาIณ โครงสร้างองค์กร และ วัตถุประสงค์เชิงนโยบายที่ชัดเจน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 84.50 โดยสามารถเขียนในรูปของสมการ ได้ดังนี้ ŷ = .396 + .133 (ระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน) + .115 (บุคลากร) + .160 (การทำงานเป็นทีม) + .150 (สภาพแวดล้อม) + .098 (ภาวะผู้นำของผู้บริหาร) + .083 (งบประมาณ) + .081 (โครงสร้างองค์กร) + .083 (วัตถุประสงค์เชิงนโยบายที่ชัดเจน)

  3. ปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ด้านบุคลากรที่ไม่เพียงพอ ระบบการวัดผล ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่มีระบบ ไม่มีมาตรการในการควบคุม และงบประมาณที่มีน้อยมาก โดยมีข้อเสนอแนวทางแก้ไข ได้แก่ ควรมีกระบวนการพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาระบบการการทำงานเป็นทีมมากขึ้น พัฒนาระบบการวัดผล ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการเผยแผ่ที่ส่งผลต่อการถวายสมณศักดิ์ และมีแผนการจัดหาแหล่งงบประมาณกองกลางเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของจังหวัด

Article Details

How to Cite
วงษ์ขันธ์ พ., & หวังมหาพร ป. (2019). ประสิทธิผลในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปปฏิบัติของพระสงฆ์ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3436–3452. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/207212
บท
บทความวิจัย

References

พระครูโฆษิตสังฆพิทักษ์ (ประเวท ถาฐาน). (2560). กลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(3), 211 – 223.

พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ. (2547). นักวิชาการเทศนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระครูวิเวกวราภรณ์ (ประสิทธิ์ ฐานวโร). (2555). บทบาทของพระธรรมทูตที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุทธิกิจโกศล (สมภพ สุวโจ). (2558). รูปแบบการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระมหาปรีชา สาเส็ง และคณะ. (2560). ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตอาสา ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 23-34.

พระมหาสมชาย กลิ่นจันทร์. (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา : การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิงรุกของคณะสงฆ์ไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 12(3), 15-31.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ. (2549). ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีวีพี ซัพพลายส์ จำกัด.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. (2546). รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม วัดในพระพุทธศาสนา :กรณีศึกษาวัดศรีโสดา ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ไพฑูรย์ ตรงเที่ยง และคณะ. (2560). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย : รูปแบบที่ควรจะเป็น. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (21 กรกฎาคม 2560). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟริก.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). แผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พ.ศ. 2554-2559. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.