รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการและครูผู้สอน จำนวน 390 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis : CFA)
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 มี 3 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ (1) การสร้างวิสัยทัศน์ (2) การสื่อสารวิสัยทัศน์ (3) การสร้างแรงบันดาลใจ 2) ด้านผู้นำของผู้นำ (1) ความตระหนักรู้วัฒนธรรมละบรรยากาศ (2) ความสามารถด้านเทคโนโลยี (3) ความสามารถทางสติปัญญา 3) ด้านคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (1) สร้างสรรค์นวัตกรรม (2) ประยุกต์ใช้นวัตกรรม (3) ความท้าทาย (4) ความยืดหยุ่นและจินตนาการ
- ผลการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ ระหว่าง .579 -.951, p=.079, GFI.=.990,AGFI =.952, RMSEA=0.040 แสดงว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
Article Details
How to Cite
แพงไทย ศ., มุขธระโกษา ส., & มณีวงษ์ ส. (2019). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3299–3313. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/207206
บท
บทความวิจัย
References
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไกรยส ภัทราวาท. (2560). บทเรียนสำคัญจากระดับนานาชาติ 21 ธันวาคม 2016. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://thaipublica.org/2016/12/kraiyospisa-2015
จารินี สิกุลจ้อย และคณะ. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 45-56.
ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2561 จาก https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/
ประเวศ วะสี. (2540). ภาวะผู้นำความเป็นไปในสังคมและวิธีการแก้ไข. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 72-84.
สมชาย รุ่งเรือง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), 29-43.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมิสชั่นมีเดีย จำกัด.
Davar,R.S. (1996). Creative Leadership: the people-oriented task approach. Indian Journal of Industrial Relations, 31(3), 421-424.
Delia Bosiok. (2013). Leadership styles and creativity. Online Journal of Applied Knowledge Management, 1(2), 64-77.
ไกรยส ภัทราวาท. (2560). บทเรียนสำคัญจากระดับนานาชาติ 21 ธันวาคม 2016. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560 จาก https://thaipublica.org/2016/12/kraiyospisa-2015
จารินี สิกุลจ้อย และคณะ. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 45-56.
ชวลิต โพธิ์นคร. (2560). ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. เรียกใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2561 จาก https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/
ประเวศ วะสี. (2540). ภาวะผู้นำความเป็นไปในสังคมและวิธีการแก้ไข. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2550). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปกร.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 72-84.
สมชาย รุ่งเรือง และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นำสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), 29-43.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมิสชั่นมีเดีย จำกัด.
Davar,R.S. (1996). Creative Leadership: the people-oriented task approach. Indian Journal of Industrial Relations, 31(3), 421-424.
Delia Bosiok. (2013). Leadership styles and creativity. Online Journal of Applied Knowledge Management, 1(2), 64-77.