ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อข้อความภาษาไทย ที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Main Article Content

ประเสริฐ ดิษกร
เสรี ชัดแช้ม
พีร วงศ์อุปราช
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ ขณะมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กิจกรรมมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึกด้านความประทับใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ 2-way ANOVA


 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. กิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 15 ข้อความ ลักษณะพึงพอใจ และลักษณะไม่พึงพอใจ

          2. คลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่ตอนต้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ จำแนกตามเพศ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วน Frontal Lobe ที่ตำแหน่ง FP1 F3 Parietal Lobe ที่ตำแหน่ง C3 Temporal lobe ที่ตำแหน่ง T8 Occipital lobe ที่ตำแหน่ง PO3 PO4 OZ O2 จำแนกตามบุคลิกภาพ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วน Frontal Lobe ที่ตำแหน่ง FP1 FPZ F7 FC4 Parietal Lobe ที่ตำแหน่ง C3 จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วน Frontal Lobe ที่ตำแหน่ง F8 Parietal Lobe ที่ตำแหน่ง CP4 PZ Temporal lobe ที่ตำแหน่ง T8 Occipital lobe ที่ตำแหน่ง PO3 POZ

Article Details

How to Cite
ดิษกร ป., ชัดแช้ม เ., วงศ์อุปราช พ., & ประดุจพรม ป. (2019). ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อข้อความภาษาไทย ที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 858–879. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/183347
บท
บทความวิจัย

References

Bradley, B.P., & Mogg, K. . (1994). Mood and personality in recall of positive and negative information. Behaviour Research and Therapy.

Bradley, M.M., & Lang, P.J. (1994). Measuring emotion: The Self-Assessment Manikin and the semantic differential. Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry, 25(1), 49–59.

Bradley, M.M., & Lang, P.J. (2007). Affective Norms for English Text (ANET): Affective Ratings of Text and Instruction Manual. Technical Report No. D-1. Gainesville: FL: University of Florida.

Buechel, S., & Hahn, U. (2017). Studying the Impact of Annotation Perspective and Representation Format on Dimensional Emotion Analysis. Proceeding of the 15th Conference of the European Chapter of the Association For Computational Linguistics.

Costa, P.T., & McCrae, R.R. (1992). Revised NEO Personality Inventory (NEO-PIR) and NEO Five-Factor Inventory Professional Manual. Odessa. TX: Psychological Assessment Resources.

Coulson, S., King, J. W., & Kutas, M. (1998). Expect the unexpected: Event-related brain response to morphosyntactic violations. Language and Cognitive Pro-cesses.

Imbir, K. (2017). The Affective Norms for Polish Short Texts (ANPST) Database Properties and Impact of Participants’ Population and Sex on Affective Ratings. Front: Psychol.

Monnier, C., & Syssau, A. (2013). Affective norms for French words (FAN). Behav. Res. Methods.

Oldfield, R.C. (1971). The assessment and analysis of handedness: the Edinburgh inventory. Neuropsychologia.

Rachamanee, S., Kornpetpanee, S., & Wongupparaj, P. (2560). Development of the Computerized Dual-Task for Assessing Depression with Electroencephalogram Measurements for Thai Adolescents. Doctor of Philosophy. College of Research Methodology and Cognitive Science: Burapa University. (in Thai).

Sukchum, R., Chadcham, S., & Womgopajach, P. (2561). The Development of an Affective Thai Texts Norms Bank System. Doctor of Philosophy College of Research Methodology and Cognitive Science: Burapa University. (in Thai).

Sun, J., Wang, G., Cheng, X., & Fu, Y. (2015). Mining affective text to improve social media item recommendation. Information Processing & Management.

Yao, Z., Yu, D., Wang, L., Zhu, X., Guo, J., & Wang, Z. (2016). Effects of valence and arousal on emotional word processing are modulated by concreteness: Behavioral and ERP evidence from a lexical decision task. Int J Psychophysiol.