อัตตาในปรัชญาหลังนวยุคของมิเชล ฟูโกต์ มองผ่านพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

นพดล ปรางค์ทอง
สวัสดิ์ อโณทัย
สมบูรณ์ บุญโท

บทคัดย่อ

  


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอัตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอัตตาในปรัชญาหลังนวยุคตามแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ 3) เพื่อวิเคราะห์อัตตาของมิเชล ฟูโกต์ ผ่านพุทธปรัชญาเถรวาท และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับอัตตาในการนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาเอกสารและนำเสนอแบบพรรณนาวิเคราะห์ ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญา


 


          ผลการศึกษาพบว่า


  1. พุทธปรัชญาเถรวาทเสนอว่า อัตตาเกิดจากอวิชชาและมาจากการรวมตัวกันของขันธ์ 5 ซึ่งจะต้องดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปบาท การจะสลายความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาหรือดับทุกข์ได้นั้น จำเป็นจะต้องรู้เท่าทันอัตตา เข้าถึงความเป็นอนัตตา และบรรลุนิพพานเป็นที่สุด

          2. อัตตาหรืออัตบุคคลในปรัชญาหลังนวยุคของมิเชล ฟูโกต์ นั้น เกิดจากศาสตร์ว่าด้วยมนุษย์ โดยจะถูกอธิบายผ่านอำนาจ ความรู้ ความจริง และปฏิบัติการทางวาทกรรมของสังคม แนวปฏิบัติของปัจเจกบุคคล คือ การต่อต้านขัดขืน การกำกับตนเอง ปฏิบัติการแห่งเสรีภาพ และการเอื้ออาทรต่อตนเอง


  1. ฟูโกต์อธิบายตัวตนของมนุษย์ในระดับสมมติสัจจะ ผ่านวาทกรรม อำนาจ และระบอบแห่งความจริงในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นตัวตนในลักษณะสัมพัทธ์ มีพลวัต และความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งเน้นอธิบายตัวตนในเชิงอภิปรัชญาและนำเสนอในฐานะเป็นความจริงสมบูรณ์ หรือ ปรมัตถสัจจะ ต้องพัฒนาไปสู่ระดับโลกุตตระ คือ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นเรื่องตัวตนอย่างสิ้นเชิงที่เรียกว่า “นิพพาน”

  2. องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัย คือ ปรัชญาหลังนวยุคของมิเชล ฟูโกต์กับพุทธปรัชญาเถรวาท มุ่งความสนใจไปที่ตัวตนคนละระดับ กล่าวคือ ฟูโกต์มุ่งความสนใจและอธิบายอัตตาในระดับโลกียะ ในขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งความสนใจนำเสนออัตตาในระดับโลกุตตระหรือในเชิงอภิปรัชญา ทั้งสองแนวคิดนี้แทบจะไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่กลับเสริมเติมแต่งกันและกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถหลอมรวมเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาตัวตนของมนุษย์ได้

Article Details

How to Cite
ปรางค์ทอง น., อโณทัย ส., & บุญโท ส. (2019). อัตตาในปรัชญาหลังนวยุคของมิเชล ฟูโกต์ มองผ่านพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 597–619. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/182482
บท
บทความวิจัย

References

Foucault, Michel. (1977). Discipline and Punishment: The Birth of the Prison. Trans. Alan Sheridan. New York: Vintage Books.

Foucault, Michel. (1982). "Sex, Power, and the Politics of Identity", in Michel Foucault. Ethics, Subjectivity and Truth. Essential Works of Foucault 1954-1984, ed. Paul Rabinow. New York: The New Press.

Foucault, Michel. (1988). Technologies of the Self: A Seminar with Michel Foucault. (L. H. Martin, H. Gutman, P. H. Hutton, Eds.). Amherst: Mass: University of Massachusetts Press.

Foucault, Michel. (1994). “Technologies of the Self” Ethics: Subjectivity and Truth. New York: The New Press.

Foucault, Michel. (1997). “The Ethics of the Concern of the Self as a Practice of Freedom” Ethics: Subjectivity and Truth. New York: The New Press.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2548). การสร้าง “ซับเจค” บทวิพากษ์ Foucault และการวิเคราะห์ “ซับเจค” จากภาพ Las Meninas. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสมศักดิ์ ธมฺมวฑฺฒโน. (2548). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องทฤษฎีขณิกวาทในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2560). ตัวกู ของกู. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ธรรมะ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริวรรณ โอสถานนท์. (2539). ตัวตนในทัศนะของพุทธปรัชญาและปรัชญาของเดวิด ฮูม : การศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ. พุทธศาสน์ศึกษา, 3 (2), 53-57.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2554). หลังสมัยใหม่นิยมและการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2555). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.