ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพที่มีต่อข้อความภาษาไทย ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Main Article Content

ผกาทิพย์ สุระบุตร
เสรี ชัดแช้ม
พีร วงศ์อุปราช
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ที่เกิดขึ้นขณะมองข้อความภาษาไทยที่ก่อให้เกิดอารมณ์ด้านการตื่นตัว โดยศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เป็นเพศชายที่มีบุคลิกภาพเปิดเผย 20 คน บุคลิกภาพกลาง ๆ 20 คน และเพศหญิงที่มีบุคลิกภาพเปิดเผย 20 คน บุคลิกภาพกลาง ๆ 20 คน คัดกรองด้านบุคลิกภาพด้วยแบบสำรวจบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ ฉบับภาษาไทย เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ 2-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้น ขณะมองข้อความภาษาไทยที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะสงบและลักษณะตื่นเต้น ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย ที่ตำแหน่ง PO3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยกับบุคลิกภาพกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า ที่ตำแหน่ง FP1 FPZ FP2 AF3 AF4 F7 F3 FZ F4 F8 FC3 FCZ และ FC4 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน ที่ตำแหน่ง C3 CZ C4 CP3 CPZ CP4 P3 และ PZ บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ ที่ตำแหน่ง T7 และ T8 และบริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย ที่ตำแหน่ง PO3 POZ O1 และ OZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุระบุตร ผ., ชัดแช้ม เ., วงศ์อุปราช พ., & ประดุจพรม ป. (2019). ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพที่มีต่อข้อความภาษาไทย ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 757–776. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/180059
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ งามพรม, เสรี ชัดแช้ม และพีร วงศ์อุปราช. (2560). การพัฒนาระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.

รชมน สุขชุม, เสรี ชัดแช้ม และ พีร วงศ์อุปราช. (2561). การพัฒนาระบบคลังข้อความภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.

Bayer, M., Sommer, W., & Schacht, A. (2010). Reading emotional words within sentences: The impact of arousal and valence on event-related potentials. International Journal of Psychophysiology, 78(3), 299-307.

Chaplin, T. M. (2015). Gender and Emotion Expression: A Developmental Contextual Perspective. Emotion Review.

Doucet, C., & Stelmack, R. M. (2000). An event-related potential analysis of extraversion and individual differences in cognitive processing speed and response execution. Journal of Personality and Social Psychology, 78(5), 956-964.

Eysenck, M. (1985). Personality and individual differences: A natural science approach. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จาก Retrieved from https://doi.org/10.1016/0191-8869(94)00175-R

OpenStax College. (2014). Psychology. Houston, Texas: Rice University. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จาก Retrieved from https://openstax.org/details/books/psychology

Revelle, W., & Scherer, K. R. (2009). Personality and emotion. Oxford companion to emotion and the affective sciences.

Russell, J. A., & Mehrabian, A. (1977). Evidence for a three-factor theory of emotions. Journal of Research in Personality, 11(3), 273-294.

Walter, S., Kim, J., Hrabal, D., Crawcour, S. C., Kessler, H., & Traue, H. C. (2013). Transsituational Individual-Specific Biopsychological Classification of Emotions. IEEE Transactions on Systems, Man, and Cybernetics : Systems.

Wang, L., Bastiaansen, M., Yang, Y., & Hagoort, P. (2013). ERP evidence on the interaction between information structure and emotional salience of words. Cogn Affect Behav Neurosci.

Whittle, S., Yucel, M., Yap, M. B., & Allen, N. B. (2011). Sex differences in the neural correlates of emotion: evidence from neuroimaging. Biol Psychol.