AGING SOCIETY: THE CHANGED MARKETING FACTOR

Main Article Content

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ

Abstract

องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2100 จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โดยทวีปยุโรปมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ขณะที่ทวีปเอเชียมีประชากรผู้สูงอายุเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปเอเชีย และถือเป็นอันดับสองในอาเซียน และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคและแนวทางการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทั้งในด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย


          บทความนี้ต้องการสร้างการตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุในระดับโลก ระดับภูมิภาค รวมถึงสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยลักษณะของพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผู้สูงอายุยุคใหม่มีอายุใจที่น้อยกว่าอายุจริง จึงให้ความสำคัญกับการดูแลภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีอยู่เสมอ มีการดูแลรักษาสุขภาพเป็นอย่างดี มีพฤติกรรมการบริโภคตามสมัยนิยม และหลีกเลี่ยงการพึ่งพาอาศัยลูกหลานหรือบุคคลอื่น การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้สูงอายุนำไปสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแนวคิดทางการตลาดในยุค Post-Demographic ที่การแบ่งส่วนตลาดด้วย “ปัจจัยด้านอายุ” อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป นักการตลาด รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องตระหนักและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก และเพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยในไม่ช้า ซึ่งนักการตลาดต้องพยายามเข้าใจพฤติกรรมและความสนใจของผู้อายุให้มากขึ้น ด้วยเครื่องมือทางการตลาดที่ทันสมัย ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเข้าถึง “อายุใจ” ของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
ชีวโศภิษฐ ว. (2019). AGING SOCIETY: THE CHANGED MARKETING FACTOR. Journal of MCU Nakhondhat, 6(1), 38–54. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/168865
Section
Academic Article

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2557). รายงานผลงานสัมมนา “เจาะลึกตลาดญี่ปุ่น: ตอนแนวโน้มตลาดของกลุ่มสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ”. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก https://www.60plusthailand.com/en/information/Japan-grand-generation-market-seminar-summary

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2561). ภาพรวมตลาดผู้สูงอายุในฝรั่งเศส. เรียกใช้เมื่อ 26 สิงหาคม 2561 จาก https://www.60plusthailand.com/th/information

กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์. (2560). รับมือสังคมผู้สูงอายุ: ตัวอย่างจากต่างประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก https://themomentum.co/happy-life-aging-society/

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัย อย่างมีคุณภาพ. วารสาร-รูสมิแล, 38(1), 6-28.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), 1-19.

มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ. (2561). งานวิจัย AWUSO Society 4.0 แก่แต่วัย หัวใจยังเก๋า. เรียกใช้เมื่อ 18 สิงหาคม 2561 จาก https://www.cmmu.mahidol.ac.th/cmmu/index.php/9-college-news/540-awuso-society-4-0

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

รติมา คชนันท์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: ISBN 2287-0520.

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน. (2559). ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุในตลาดจีน. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2561 จาก https://www.60plusthailand.com/en/news/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. เรียกใช้เมื่อ 23 สิงหาคม 2561 จาก https://popcensus.nso.go.th/file/popcensus-10-01-56-T.pdf

สิริพงศ์ กุลสุขรังสรรค์, คมศักดิ์ สินสุรินทร์ และมารุต ว่องประเสริฐการ. (ม.ป.ป.). การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 23 สิงหาคม 2561 จาก https://www.prorehab2home.com/th/physical.html

อนันต์ อนันตกูล. ((ม.ป.ป.)). สังคมสูงวัย . . . ความท้าทายประเทศไทย รายงานเสนอที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก. สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา: ม.ป.ท.

BrandBuffet Team. (2015). Silver gen เจาะลึก 5 อินไซต์มัดใจผู้บริโภควัย 50+ นักการตลาดต้องรู้. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2015/09/silver-gen-consumer-insight-2015/

Bureau of Labor Statistics. (2018). Consumer expenditure surveys. เรียกใช้เมื่อ 20 August 2018 จาก https://www.bls.gov/cex/csxresearchtables.htm#generational

Burrows, D. (2015). Is behavioural data killing off demographics? เรียกใช้เมื่อ 28 December 2018 จาก https://www.marketingweek.com/2015/09/04/is-behavioural-data-killing-off-demographics/

Kontis, V., Bennett, J. E., Mathers, C. D., Li, G., Foreman, K., & Ezzati, M. (2017). Future life expectancy in 35 industrialized countries: Projections with a Bayesian model ensemble. The Lancet: 89(10076), 1323-1335.

Sanyasayan. (2018). Active aging design sangkom “karuna” phu sung wai plod phara su okart. เรียกใช้เมื่อ 26 October 2018 จาก https://www.real-inspire.com/2018/active-aging-thailand/

SCB Economic Intelligence Center. (2017). ส่องเทรนด์ผู้บริโภคไทย อะไร “อิน” อะไร “เอาท์”? Insight ถอดหน้ากากผู้บริโภคยุค 4.0. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2561 จาก https://res.scbsonline.com/stocks/extra/28008_20170621163628.pdf

Trendwatching.com. (2014). Post-Demographic Consumerism. เรียกใช้เมื่อ 31 December 2018 จาก https://trendwatching.com/trends/post-demographic-consumerism/

United Nation. (2015). World populations ageing 2015. New York: Author.

United Nations Population Fund. (2012). Ageing in the twenty-first century: A celebration and a challenge. New York: Author.