หลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในการส่งเสริมการบริหารงานของคณะสงฆ์

Main Article Content

เดชชาติ ตรีทรัพย์
ณิชารีย์ ปรีชา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและอธิบายหลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 2) เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่สามารถนำมาส่งเสริมการดำเนินงานของคณะสงฆ์ 3) เพื่อเสนอแนะการปรับปรุงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวนทั้งหมด 46 รูป/คน คือกลุ่มนักกฎหมาย 10 รูป/คน กลุ่มนักรัฐศาสตร์ 10 รูป/คน กลุ่มพระพุทธศาสนา 10 รูป/คน และกลุ่มนักวิชาการพระพุทธศาสนา 16 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการปรากฏแห่งหลักธรรมาภิบาลในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้แก่ หลักนิติธรรม การระบุให้สมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดย สมณศักดิ์ มีสิทธิได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น ขัดกับธรรมเนียมของคณะสงฆ์ เพราะคณะสงฆ์เคารพกันโดยถืออาวุโสตามพรรษา ฉะนั้นในทุกที่ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ควรหันไปนับอาวุโสตามพรรษาดั้งเดิม ขาดหลักคุณธรรมเพราะในการแต่งตั้งพระสังฆาธิการนั้นแม้ว่าจะยึดคุณสมบัติก็ตามแต่ก็มีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเป็นประเด็นหลักในการพิจารณามากกว่าพิจารณาตามคุณสมบัติขาดหลักความโปร่งใสเพราะไม่มีความชัดเจนเรื่องการจัดการศาสนสมบัติของวัดควรบัญญัติให้ชัดเจนและมีคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของวัดประจำปีและนำผลการตรวจสอบมาเปิดเผยด้วย ขาดหลักความมีส่วนร่วม การดำเนินกิจกรรมใดๆ มักไม่ยึดหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียขาด หลักความรับผิดชอบ การจัดการกับผู้กระทำผิด (พระภิกษุ สามเณร) ยังไม่ทันท่วงทีและเด็ดขาด หลักความคุ้มค่า ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์มีหลักความคุ้มค่าอยู่พอสมควร เช่น การใช้ที่ดินวัดร้าง และที่ธรณีสงฆ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและถ้าทางราชการจะเข้าใช้ที่วัดที่ธรณีสงฆ์อย่างถาวรก็ต้องมีค่าผาติกรรม ฯลฯ

  2. สภาพการใช้หลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 สามารถนำมาส่งเสริมการดำเนินงานของคณะสงฆ์ ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการศาสนศึกษา ด้านศึกษาสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ด้านสาธารณูปการ และ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งเป็นกิจการที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการด้านต่างๆ ทั้งเพื่อการสาธารณประโยชน์ สาธารณสมบัติและประชาชน

          3. ข้อเสนอแนะการปรับปรุงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้แก่ ควรปรับปรุงกฎหมาย เช่น (1) คณะสงฆ์ควรจะปกครองกันด้วยคณะสงฆ์ โดยไม่ยอมให้อำนาจมืดบางส่วนเข้าไปชี้นำ (2) คณะกรรมการสงฆ์ หรือ มหาเถรสมาคม ในการเลือกสรรบุคคลเข้าทำหน้าที่นั้น ควรเป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาล แต่ก็ให้ใช้หลักความอาวุโสเข้ามาผสมผสานด้วย ควรปรับปรุงโครงสร้าง ผู้ปกครองคณะสงฆ์ ระดับที่สูงกว่าเจ้าอาวาสควรอยู่เป็นวาระ ตลอดถึงมหาเถรสมาคมด้วย แต่เมื่อถึงอายุเจ็ดสิบปีแล้วให้เป็นได้แต่เจ้าอาวาสเท่านั้น ควรปรับปรุงรูปแบบ พระอุปัชฌาย์ควรรับผิดชอบต่อสัทธิวิหาริก ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ หากละเลย ก็ให้ถือว่า ละเมิดจริยา ซึ่งต้องตักเตือน หยุดปฏิบัติงานชั่วคราว หรือให้พ้นจากหน้าที่ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
ตรีทรัพย์ เ., & ปรีชา ณ. (2018). หลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ในการส่งเสริมการบริหารงานของคณะสงฆ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 995–1011. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/158921
บท
บทความวิจัย

References

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2525). การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาเพื่อความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

พระครูพินิตสุตาคม (สมพงษ์ สุตาคโม). (2555). การบริหารจัดการของเจ้าอาวาสวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอแพงแสน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย ).

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต (ภิรมย์พร). (2554). การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม). วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 9 . กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2545). สงฆ์กับการเมือง. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ร่มปรางศ์ สวมประคำ. (2548). “ผลกระทบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2540 ที่มีต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร.

Burgess, R.G. (1988). Conversations with a Purpose; the ethnographic interview in educational research'. in R.G. Burgess (ed.): Qualitative Methodology.