อิทธิพลของการบริหารจัดการทางหลวงที่ส่งผลต่อ การพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารจัดการทางหลวงที่ส่งผลต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์สถิติประเภทพหุตัวแปรโดยใช้สมการโครงสร้างและวิธี การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและเสริมด้วยผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพัฒนาและงานด้านทางหลวงจำนวน 10 ตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า
การบูรณาการแผนงานเพื่อการจัดทำงบประมาณพัฒนาทางหลวงและการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางบนโครงข่ายทางหลวงเป็น 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ เมื่อมีการบูรณาการแผนงานเพื่อการจัดทำงบประมาณพัฒนาทางหลวงและการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางบนโครงข่ายทางหลวงเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้การพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนโครงสร้างการบริหารองค์การทางหลวง การเตรียมโครงการทางหลวงและการบริหารโครงการทางหลวง คือปัจจัยของการบริหารจัดการทางหลวงไม่ส่งผลทางตรงต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางบนโครงข่ายทางหลวง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารจากหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการพัฒนาและหน่วยงานด้านทางหลวงจำนวน 10 ตัวอย่าง ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสอดคล้องกัน ดังนี้
- การบูรณาการแผนงานเพื่อการจัดทำงบประมาณพัฒนาทางหลวงเริ่มจากการมีส่วนร่วมจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความซ้ำซ้อนและสร้างการเชื่อมโยงของแผนพัฒนาด้านอื่นๆ ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
2. โครงสร้างการบริหารองค์การทางหลวง การเตรียมโครงการทางหลวงและการบริหารโครงการทางหลวงส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการเดินทางบนโครงข่ายทางหลวงแต่ไม่ส่งผลทางตรงต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งสามารถตีความได้ว่าตัวแปรแฝงทั้ง 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการทางหลวงหากมีการปรับปรุงปัจจัยทั้ง 3 ด้านให้มีประสิทธิภาพแล้วจะส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางบนโครงข่ายทางหลวงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางจะส่งผลต่อการพัฒนาสามจังหวัดชายแดนใต้เพิ่มขึ้นด้วย
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงบูรณาการ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
ณรงค์ กุลนิเทศ, และสุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยชั้นสูง และการออกแบบวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์พรินท์ สามเสน.
เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และรัชนี สรรเสริญ. (2555). การบูรณาการ: กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา. การพยาบาลและการศึกษา, 5 (2), 4.
พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ และคณะ. (2554). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการสายเลี่ยงเมืองสันป่าตอง–หางดง (ตอนที่ 1) จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6 (2), 73.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2555). 98 เดือนแห่งความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (10 ตุลาคม 2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน. (2560). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน พ.ศ. 2557 – 2560.
สุภมาศ อังศุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทเจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
อะหะมะ สะมาแอ และฮูเซน หมัดหมัน. (2559). ความเห็นของผู้นาชุมชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. 11 (20), 153.
Gifford, J. . (2011). 100 Great Leadership ideas. England: Marshall Cavendish Corp/Ccb.
Jong & Gommer . (1988).
Joseph Phillips. (2003). PMP Project Management Professional Study Guide. McGraw-Hill Professional.
Lewis R. Ireland . (2006). Project Management. McGraw-Hill Professional.
McGraw-Hill Concise Encyclopedia of Science and Technology. (2016). Highway engineering. New York: McGraw-Hill.
Mintzberg, H. . (1994). The Rise and Fall of Strategic Planning. New York: Prentice Hall.
Sukhothai Thammathirat open University. (2015). (22 เมษายน 2561). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินโครงการ. เข้าถึงได้จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/01-03-02.html