แนวคิดคู่ตรงข้ามในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดคู่ตรงข้ามในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ตีความข้อมูลจากเรื่องเล่า 14 เรื่องในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท จากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า คู่ตรงข้ามตามแนวพุทธสื่อความในแง่เป็นหลักคิดเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดพุทธศาสนา สิ่งหมุนกลับไปกลับมาตามโลกที่ผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าใจและรู้เท่าทัน วิธีการสอนธรรมอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า และจริยศาสตร์ทางสายกลางและวิภัชวาทเพื่อเป้าหมายทางปฏิบัติ คู่ตรงข้ามในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท ถูกแบ่งออกเป็นประเภทแนวคิดได้หลายประเภท และมีลักษณะพื้นฐานแนวคิดเป็นสิ่งตรงข้ามกันเชิงแนวคิดหรือเนื้อหา เป็นสิ่งพึ่งพาอาศัยกันเป็นอยู่ เป็นไป และใช้ประโยชน์กัน เป็นสิ่งสลับกันไปมาเชิงเปลี่ยนแปลงสถานะหรือสภาพได้ และเป็นจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติแบบวิภัชวาทและทางสายกลาง
Article Details
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 23, 25. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย.
สมเกียรติ ตั้งนโม. (2559). แปลและเรียบเรียงจาก Michael O’Shaughessy and Jane Stadler. (2002). Narrative Structure and Binary Oppositions.ใน Media and Society. Oxford University Press. เรียกใช้เมื่อ 29 มกราคม 2559 จาก มหาวิทยาลัยเที่ยง: http://v.1.midnightuniv. org/midnight2545/newpage16.html
สมภาร พรมทา. (2549). ศาสนาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุขพัฒน์ อนนท์จารย์. (2557). พุทธิปัญญา...พระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: ปราชญ์.
สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส. (2551). พุทธประวัติ (เล่ม 1). (พิมพ์ครั้งทื่ 53). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Wikipedia. (2559). the free encyclopedia. “Binary Opposition”. เรียกใช้เมื่อ 19 พฤษภาคม 2559 จาก Wikipedia: https://en.wikipedia.org/wiki/Binary_opposition