การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามหลักพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคและหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตามหลักพุทธบูรณาการ
ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน มีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านบุคลากร 2) ปัญหาด้านงบประมาณ 3) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ โดยมีหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาบูรณาการในการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ประกอบด้วย หลักอปริหานิยธรรม ในข้อ ให้เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น, หลักสัปปุริสธรรม ในข้อ อัตตัญญุตา คือรู้จักตัวเอง อันรวมถึงความสำนึกรู้คุณค่าประวัติศาสตร์โบราณวัตถุโบราณสถาน และ ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน อันรวมถึงการรู้จักประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บ่งถึงความเป็นมาของชุมชนของตนเอง หลัก ปธาน 4 คือ สังวรปธาน เพียรระวังมิให้ความเสียหายที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียรกำจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน เพียรหาวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานที่ยังไม่มี ให้เกิดมีขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ เพียรดำรงวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานที่เกิดขึ้นแล้ว ให้คงอยู่และให้ดียิ่งขึ้น
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า. แก่นจันทร์การพิมพ์จำกัด.