คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 376 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี ที่มี อายุ , ระดับการศึกษา , ประสบการณ์ทำงาน และสังกัด แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้านความรู้ทางวิชาชีพ ด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาไม่แตกต่างกัน เนื่องจากหน่วยงานราชการในประเทศไทย มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการคัดสรรที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกระทรวง โดยปฏิบัติตามคู่มือการสรรหาและเลือกสรรเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ การอนุมัติคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน การแสดงความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยงานราชการในประเทศไทย เกี่ยวกับคุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการ จึงไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
เฉลิมขวัญ ครุฑบุญยงค์ (2557). (5 กุมพาพันธ์ 2561). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=152375
มยุรี เกื้อสกุล และ วุฒิ วัชโรดมประเสริฐ (2558). (5 กุมภาพันธ์ 2561). คุณสมบัติของนักบัญชีในสถานประกอบการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชีและนักบัญชี ในสถานประกอบการต้องการ กรณีศึกษา : สถานประกอบการนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร. เข้าถึงได้จาก https://tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/download/56272/46917
ลักขณา ดาชู และ ปทุมพร ชโนวรรณ (2560). (5 กุมภาพันธ์ 2561). การพัฒนาคุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เข้าถึงได้จาก http://www.hu.ac.th/conference/proceedings/data/05-2-Poster%20Presentation/4.Administration%20and%20management/35-040M-P(ลักขณา%20%20ดำชู).pdf
ลัดดา หิรัญยวา (2555). (10 พฤษภาคม 2561). นักการบัญชีไทยกับความพร้อมในการใช้มาตรฐานการบัญชีตามกรอบมาตรฐานกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ . เข้าถึงได้จาก http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/ 638/1/028-55.pdf
วีรยุทธ สุขมาก และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธ์. (2556). ความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สรัชนชุ บุญวุฒิ, ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน (2559). (18 พฤษภาคม 2561). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เข้าถึงได้จาก http://www.mgts.lpru.ac.th/journal/index.php/mgts/article/download/279/117
โสภาพรรณ ไชยพัฒน์ , อณาวุฒิ ชูทรัพย์ และสันธยา ดารารัตน์ (2555) . (18 พฤษภาคม 2561). ความคิดเห็นลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต . เข้าถึงได้จาก http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2554_Puket_Sopapun.pdf