การพัฒนาความรู้ด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษและทัศนคติเชิงบวกต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมในศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี
Keywords:
ความรู้ด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, ทัศนคติเชิงบวกต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ, นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย, กิจกรรมการศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความรู้และทัศนคติของนักศึกษาก่อนเรียนวิชาการศึกษาพิเศษ 2) เปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน วิชาการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มเลือกประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการศึกษาพิเศษ โดยเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้นักศึกษาศูนย์การศึกษา นอกที่ตั้ง จังหวัดสุพรรณบุรี 3 ตอนเรียน ประกอบด้วย ตอนเรียน UA จำนวน 47 คน ตอนเรียน UB จำนวน 47 คน และตอนเรียน UC จำนวน 45 คน รวมทั้งสิ้น 139 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมินทัศนคติและแบบสังเกตและการมีส่วนร่วม โดยในแบบทดสอบประกอบด้วย การวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ทางการศึกษาพิเศษ แบบทดสอบประเมินทัศนคติต่อเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ และแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (paired samples statistics) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในด้านการศึกษาพิเศษก่อนการทดลองอยู่ใน ระดับน้อยถึงปานกลาง และเมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับการจัดกิจกรรมศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมตามโปรแกรม
กิจกรรมที่จัดขึ้นแล้วพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษและคะแนนทัศนคติเชิงบวก ต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ระดับปานกลางถึงมาก ทั้ง 3 ตอนเรียน โดยคะแนนก่อนและหลัง การทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการจัดการเรียน การสอนโดยให้เพิ่มเวลาเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมศึกษาสังเกตและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีความต้องการ พิเศษ จะทำให้นักศึกษาได้รับทั้งความรู้และมีเจตคติที่ดีต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
References
พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชนิสรา ใจชัยภูมิ, ศศิธร รณะบุตร และประวิชญา แข่งขัน. (2560). การพัฒนาทักษะทางภาษา
ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือของผู้ปกครอง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
เขตจังหวัดเลย. วารสาร มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3).
ทิตยดา โภชนจันทร์และ สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล . (2560). การพัฒนาแบบวัดปัญหาพฤติกรรมเด็กระดับ
ประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3).
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2545) การศึกษาสำหรับคนพิการในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษวงศ์.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561).
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Klein, B. (1991). Learning. New York, NY: McGraw-Hill.
Translated Thai References
Bovon. S. (2002). Social Phycology. Bangkok: Suveriyasarn. (in Thai)
Cotakun, S (2013). Educational Psychology. Faculty of Education Chulalongkorn University.
Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Jaichiyapum C., Ranabut S., & Khaengkhun P. ( 2014). The Development of language Skills
in Early Childhood Chidren with Cooperative Learning of Parents Associated with
the Police Patrol School, Loei Provice. SDU Research Journal Humanities and
Social Sciences, 13(3). (in Thai)
Panid, W. (2012). Learning Pathways for Students in Century 21. Bangkok: Sodsri-Salidwong
Foundation. (in Thai)
Pochanajun, T. & Wattananonsakul, S. (2014). A Development of Behavior Problem Scale
for the Elementary School Children in Bangkok. SDU Research Journal
Humanities and Social Sciences, 13(3). (in Thai)
Ministry of Education. (1999). National Education Act B.E. 1999. Amendments Second
National Education Act B.E. 2002. Third National Education Act B.E. 2010. Bangkok:
Teachers Council Lad Phraow Co.Ltd. (in Thai)
Office of the Education Council. (2010). The proposal of The reform education in decade
2nd. Bangkok: Pricwan graphic. (in Thai)
Utairatanakit, D. (2002). Education for person with disability in grobalization. Bangkok:
Kasetsart University. (in Thai)