ความเชื่อมโยงพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีต้นกำเนิดมาจากการละลายของหิมะบริเวณที่ราบสูงตอนเหนือของทิเบตและบริเวณมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน ชาวจีนเรียกแม่น้ำโขงว่า “แม่น้ำหลานชางเจียง” (Lancang Jiang) ซึ่งไหลผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่ประเทศลาว เมียนมาร์ไทย กัมพูชาและไหลลงทะเลจีนใต้ที่เวียดนามลุ่มแม่น้ำโขงแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2ส่วน คือ ลุ่มน้ำโขงตอนบน (Upper Mekong Basin)เริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดของแม่น้ำโขงในประเทศจีนและลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Basin) เริ่มตั้งแต่มณฑลยูนนานในประเทศจีนไหลผ่านเมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพประชากรกว่า300ล้านคนในภูมิภาคนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยระบบธรรมชาตินี้โดยตรงในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต และประเพณีวัฒนธรรม
การที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างตั้งอยู่ระหว่างแหล่งอารยธรรมใหญ่ 2 แห่งคือ จีนทางตอนเหนือและอินเดียทางตะวันตก ทำให้เกิดการผสมผสานเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศาสนาพุทธในภูมิภาคขึ้นเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระโสณเถระกับพระอุตตรเถระ เป็นสมณฑูตมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียเจริญสุดขีดได้มีการเดินทางไปศึกษาพุทธธรรมที่อินเดียกันอย่างต่อเนื่องและได้นำพระธรรมมาเผยแผ่ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ ทำให้กษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรต่าง ๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายอมรับนับถือศาสนาพุทธไว้เป็นศาสนาประจำชาติ จนกลายเป็นวัฒนธรรม ประเพณีพุทธ ที่ก่อให้เกิดความคล้ายกันของคนในภูมิภาคและทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างได้จนถึงปัจจุบัน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
ดินาร์ บุญธรรม. (2555). พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และจอห์น ดอร์. (2550). ความท้าทายทางสังคมในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
ประวัติพระธาตุหลวง(พระเจดีย์โลกจุฬมณี) นครหลวงเวียงจันทน์(ต้นฉบับภาษาลาว). (2528). ใน “มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระยอดแก้วพุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์. สมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาว. ม.ม.ป. 12 มีนาคม.
ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (2554). แคว้นสุโขทัย. หน่วยที่ 3 ในเอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.