บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง – ลำพูน

Main Article Content

ธนกฤต บุญทาจันทร์
สังวาร วังแจ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง - ลำพูน ประชากร ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 320 คน และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตามสัดส่วนจำนวนบุคลากรแต่ละโรงเรียน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ทั้งสิ้น 179 คน  โดยเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 7 คนและครู จำนวน  172 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติพื้นฐานค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) (Standard Deviation) ค่าความถี่ (Frequency) 


ผลการวิจัย พบว่า บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม โดยรวมอยู่ในระดับมาก   ( = 4.21,S.D. = 0.63) แนวทางการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม คือ สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายแล้วนำสู่การปฏิบัติ สร้างการมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียนฝึกอบรมคณะครู พัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ในการเรียนการสอน และพัฒนาองค์ความรู้ในระบบสารสนเทศให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง หาวิทยากรมาส่งเสริมให้ความรู้กับครูผู้สอน ช่วยเหลือ ทางด้านวัสดุอุปกรณ์ จัดแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเน้นตามความต้องการและการส่งเสริมเพื่อความเป็นเลิศและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในทุกด้าน จัดให้มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้จากการที่ได้ปฏิบัติการสอนทุกเดือน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย วิเคราะห์ ความต้องการ วางแผนในการจัดระบบการใช้ การบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวก กำกับติดตาม ประเมินผลการใช้ ปรับปรุง และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เกิดประโยชน์

Article Details

How to Cite
บุญทาจันทร์ ธ., & วังแจ่ม ส. . (2024). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูยอดเยี่ยม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในจังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง – ลำพูน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 330–345. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284737
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องและ

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ร.ส.พ.

คนธวรรณ เกษงาม. (2558). ความต้องการการนิเทศการสอนของครูสังกัดเทศบาลเมือง

ชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา

การบริหาร การศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิณณวัตร ปะโคทัง, สุพิชญ์ชญา มีแแก้ว,นเรศ ขันธะรี. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ

ทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1-148.

จรัล เลิศจามีกร. (2554). กิจกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ในการ

ปฏิบัติ ของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ชยพล ดีอุ่น และ ธีระภัทร ประสมสุข. (2565). การบริหารจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active

Learning ของสถานศึกษาศูนย์ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาลุ่มน้ำลาง

อำเภอปางมะผ้า สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน

เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 1-24.

ธนพล บัวคำโคตร. (2563). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33, วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บรรจง เจริญสุข. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี

ทางการศึกษาของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษากระบี่,วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระบรมราโชวาท. (2558). พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก: http://news.ch7.com/speech/18/.html.

พงษ์อิศรา ประหยัดทรัพย์. (2557). บทบาทของผ้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนา

คุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัด ปทุมธานี, วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภคพร เลิกนอก และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผล

ต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬา

ขอนแก่น, 7(4).1-13.

ภัทรนิชา สุดตาชาติ. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการ

เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตคลอง

สามวา กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยรามคำแหง.

โรงเรียนโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน.(2564). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนจักรคำคณาทรจังหวัดลำพูน 2564. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก

http://www.chakkham.ac.th/topnews/index.php/teacher-4-0/2018-11-15-02-

-33/category/32-2019-01-14-04-04-35.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ.2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563.กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.