ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของกรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการรับรู้ และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการวางกรอบแนวทางในการพัฒนาบุคลากรกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่ปฏิบัติงานในส่วนกลาง จำนวน 187 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาและประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใช้ ประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานด้วย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบด้วยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ Fisher's Least – Significant Different : LSD
ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.83 , S.D. = 1.16) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุตัว อายุงาน และระดับการศึกษา ส่งผลต่อความคิดเห็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทตำแหน่ง และสังกัด รวมถึงปัจจัยด้านการรับรู้ต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ส่งผลต่อความคิดเห็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลไม่แตกต่างกัน
โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2563). แผนยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล.กรุงเทพฯ : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ.
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2564). หลักเกณฑ์และแนวทางการประกันคุณภาพการพัฒนาบุคลากร ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. ค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2565, จาก www.rlpd.go.th.
จุฑามาศ ทวิชสังข์. (2560). การพัฒนาตนเองของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS = Statistics for research and SPSS application techniques. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ภารดี เทพคายน. (2564). ระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุวิมล ลิ้มธนทรัพย์. (2561). ความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสํานักงานศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาลัยเกริก.
สุดารัช ชัยศรี และภาวิน ชินะโชติ. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และการพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร . วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ , 8 (2) สิงหาคม 2563 : 33-46.