การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปลายแหลม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วรรณพร ผลผลา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านปลายแหลม และเพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านปลายแหลม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลหลักโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน ได้แก่  ผู้ประกอบการธุรกิจในชุมชน 10 คน ผู้บริหาร ผู้นำชุมชนและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลนครเกาะสมุย 10 คน และประชาชน 10 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทชุมชนบ้านปลายแหลม มีลักษณะเป็นเกาะและมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ เกษตรกร ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านปลายแหลม พบว่า ไม่มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ จุดทิ้งขยะไม่เพียงพอ มีถังขยะชำรุดจำนวนมาก รถเก็บขนขยะมาไม่เป็นเวลา และเทศบาลนครเกาะสมุยยังขาดแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ลักษณะการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านปลายแหลม สามารถแบ่งได้ 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา ประชาชนเข้าร่วมวางแผนและทำกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย เช่น โครงการชุมชนสะอาด หน้าบ้านน่าอยู่ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ มีการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น การนำขยะไปทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ โดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น ขวดน้ำดื่ม ถุงพลาสติก รวมทั้งนำขยะมูลฝอยที่คัดแยกไว้ไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ติดตามการทำงานร่วมกันในชุมชน เช่น การสังเกตการณ์เก็บขนขยะ การทำความสะอาดหลังเก็บขนขยะมูลฝอย เป็นต้น

Article Details

How to Cite
ผลผลา ว. . (2024). การจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปลายแหลม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 211–229. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284677
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2564. กรุงเทพฯ: เอพี คอนเน็กซ์.

กองยุทธศาสตร์และงบประมาณเทศบาลนครเกาะสมุย. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ. 2566-2570) เทศบาล นครเกาะสมุย. สุราษฎร์ธานี: เทศบาลนครเกาะสมุย.

ทิวา ประสุวรรณ, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, ดารากร เจียมวิจักษณ์ และ ปรีชา ดิลกวุฒิ สิทธิ์. (2559). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11 (1): 45-61.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทบาทหน้าที่ของเทศบาลในการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพฯ: กรมส่งเริมการปกครองท้องถิ่น.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว และ ประภัสสร อักษรพันธ์. (2562). ผลของการจัดการขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2): 233-248.

ศุภรินทร์ อนุตธโต, มานะชัย รอดชื่น และธนียา เจติยานุกรกุล. (2559). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเทศบาลตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ MFU Connexion,6 (1): 53-78.

สิริมา ปกป้อง. (2561). การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุนทร ปัญญะพงษ์, อัญชลี ชัยศรี, ทัสไนยวรรณ ดวงมำลำ และวิมลศิลป์ ปรุงชัยภุมิ. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2): 95-108.