ความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑล และเขตชานเมือง

Main Article Content

นิธิพัฒน์ มูลจันที
พรพรรณ เหมะพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑลและเขตชานเมือง 2) เปรียบเทียบปัจจัยด้านความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑลและเขตชานเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพการบริการในการเดินรถไฟกับความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑลและเขตชานเมือง โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบโควตา ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของปัจจัยด้านคุณภาพการบริการและด้านความพึงพอใจฯ เท่ากับ 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดง มีความพึงพอใจในการใช้บริการอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง การให้บริการอย่างก้าวหน้า ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจฯ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน ส่งผลต่อความพึง             พอใจฯ แตกต่างกัน โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในระดับสูงมาก (r=.925)

Article Details

How to Cite
มูลจันที น., & เหมะพันธุ์ พ. . (2024). ความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าในเขตปริมณฑล และเขตชานเมือง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 10(3), 180–195. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/284675
บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2566). จำนวนรถจดทะเบียนสะสมพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กรวีณ์ ออมสิน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: กรณีศึกษาฝ่ายบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณทิพรดา เลิศเสถียรชัย. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พฤติกรรมการใช้บริการและแนวโน้มการมาใช้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์). การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, ประจำปี 2559.

ทรงภพ เฮงสุวนิช. (2566). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มีต่อการใช้บริการของสถานีรถไฟฟ้าบางพระ จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนัชชนม์ แจ้งขำ และ ปัญจพร พลายเพ็ชร. (2566). อิทธิพลของคุณภาพการบริการและความพึงพอใจที่มีต่อความภักดีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ จำกัด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(3): 183-197

ธันยนันท์ สุริยาวิชญ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความไว้วางใจกับพนักงานในองค์กร. สารนิพนธ์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บริษัท เอลคอน จำกัด และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.). (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการสำรวจภาพลักษณ์องค์กรของ รฟม. และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครประจำปีงบประมาณ 2563. รายงานผลการวิจัย.

เบญชภา แจ้งเวชฉาย. (2559). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปณิตา เผ่าลินจง, กัณทิมา ภาคภูมิชน, ชิษชีพ บุรีรักษ์, ปาริชาติ เนี่ยะกุ๊น, วรรณภา สุวรรณชาติ, ศรัญยา เอี่ยมพงษ์, และ ธเนส เตชะเสน. (2565). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรถไฟฟ้า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ, 12(1): 13-27.

พรมศิริ ปานเจริญ และ พัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าBTS. วารสารบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2): 1-5.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาล เปาโลรังสิต. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใต้ดิน จากสถานีท่าพระถึงสถานีวัดมังกรในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(2): 135-146.

วริศรา เจริญศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. การค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566, จากhttps://www.nesdc.go.th

ออซตินท์ รุจิปูริตานนท์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

INRIX. (2023). Inrix 2022 Global Traffic Scorecard. Retrieved on 23rd March 2023, from https://inrix.com/scorecard

Parasuraman, A., Zeithaml, V., & Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple- Item Scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, January, 1988: 12-40.