แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส 2) วิเคราะห์สถานการณ์ภายในและสถานการณ์ภายนอกของการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส และ 3) เสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดระดมความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กรรมการหมู่บ้าน ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าและของที่ระลึก นักท่องเที่ยว และชาวบ้าน จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านปัญหาของการจัดการการท่องเที่ยวด้านการบริหาร พบว่า หน่วยงานภาครัฐไม่ได้มีส่วนบริหาร ด้านการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พบว่า มีห้องสุขา 3 จุด ด้านการจัดการร้านค้า พบว่า ภาครัฐไม่ได้สนับสนุนงบประมาณ ด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า ภาครัฐไม่ได้สนับสนุนหรือช่วยประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนสภาพแวดล้อมของการจัดการท่องเที่ยว 2.1) จุดแข็ง คือ ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ 2.2) จุดอ่อน คือ จำนวนบุคลากรด้านมัคคุเทศก์มีไม่เพียงพอ 2.3) โอกาส คือ มีแนวโน้มที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินมาเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น 2.4) อุปสรรค คือ ขาดงบประมาณในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจากภาครัฐ และ 3) ด้านแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวหมู่บ้านมอญห้วยน้ำใส ประกอบด้วย 1) การดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 2) การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านทางสื่อต่าง ๆ ที่เข้าถึงนักท่อเที่ยวให้มากขึ้นด้วยสื่อปัจจุบัน 3) การสนับสนุนให้เกิดร้านค้าชุมชนเพื่อคนในชุมชนมีรายได้ 4) การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว และ 5) การจัดทำป้ายบอกทางอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
Article Details
References
กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 13(3): 1062-1078.
จักรีวัชระ กันบุรมย์ และ ชนิดา จิตตรุทธะ. (2565). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: จังหวัดนครราชสีมา ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยรังสิต.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ
ราชกิจจานุเบกษา.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 13
(พ.ศ. 2564 – 2565). ค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม2565:https://nesdc.go.th
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี. (2563). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดราชบุรี. ค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564, http://ratchaburi.go.th
สุไรดา กาซอ. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว พื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Collier, A. & Harraway, S. (1997). Principle of Tourism. Auckland: Longman.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. 3rd ed. Los Angeles, CA: SAGE.
Mill, R. & Morrison, A. M. (1992). The Tourism System and Introductory Text. New Jersey: Prince-Hall Intentional Inc.