การปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียวของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะประชากรศาสตร์ 2) การปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียว และ 3) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับการปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียวของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรคือผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามหลักของ Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test, ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffé
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และสถานภาพโสด 2) การปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียวของผู้บริโภค ด้านคิดใหม่และด้านใช้ซ้ำ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านลดใช้ ด้านใช้ซ้ำ ด้านนำมาผลิตใหม่ ด้านปฏิเสธ ด้านซ่อมแซม และด้านตอบแทน อยู่ในระดับมาก 3) เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับการปฏิบัติตามแนวทาง 7 อุปนิสัยสีเขียวของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพสมรส มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมการปกครอง (2566: ออนไลน์). ข้อมูลประชากร. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2566. เข้าถึงได้จาก
http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat/year
กนกวรรณ ธรรมชาติ และนรารัก บุญญานาม (2563). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ
ระดับชาติ และการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
กาญจนา โทหา (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวน
พยอมจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 24 ฉบับที่ 2(กรกฎาคม-ธันวาคม 2563).
กุณฑลี รื่นรมย์. (2553). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ฐิตินันท์ เทียบศรี (2564). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นภัสวรรณ วงกตวรินทร์ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว..
ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ (2562). 7 อุปนิสัยสีเขียวเพื่อโลก สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 เข้าถึง
ได้จาก https://www.smartsme.co.th/content/230408
พัลลภ จันทร์กระจ่าง (2563). การจัดการโลจิสติกส์ด้วยเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน.วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 39 ฉบับที่ 4
(กรกฎาคม-สิงหาคม 2563).
แพรว อังธนากุล (2565). ความตั้งใจซื้อสินค้าไร้บรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายในเขต
กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบูรณ์ เย็นศิริ. (2563). รูปแบบการคัดแยกเศษวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชน
ในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
สวรรยา ธรรมอภิพล จันทร์ฉาย ทองรอด และนรมน สารผล (2562). แรงจูงใจในการลดแก้ว
พลาสติกด้วยแนวคิดแก้วน้ำส่วนตัวแลกส่วนลดเครื่องดื่ม กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัย
ศิลปากร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2562).
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช), 2562). เศรษฐกิจสีเขียว. ปทุมธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Cochran, W.G. (1993). Sampling Techniques. 2th ed. New York: wiley & Sons,
Inc.Doyle. Retrieved from
https://www.techtarget.com/searchcio/definition/competitive-advantage.
Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading
in Fishbeic, M(Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp.90-95). New York: Wiley & Sons.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. 2th ed. New York: Harper
and Row.