แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลตามแผนเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ เจ้าหน้าที่ในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 143 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่า PNI (Priority Needs Index) และ ค่า PNI Modified
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเด็นที่มีความแตกต่างกันระหว่างสภาพที่คาดหวังกับสภาพที่เป็นจริงที่สุดก็คือ ประเด็นเรื่องของการที่องค์กรพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (PNI Modified = 0.38) และ 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรด้านทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) การปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์เทคโนโลยีและการบริหารงบประมาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีภายในหน่วยงาน และการให้การยอมรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 อาศัยตามความในมาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษา พ.ศ. 2563 – 2565 กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนเพิ่มประสิทธิภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2557). ทฤษฎีทางเลือกนโยบายสาธารณะ: หลักการพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://www.krisdika.go.th/data/activity/act236.pdf
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2556). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาวรรณ สุขดี และ พรเทพ รู้แผน. (2559). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(3). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุธินี อัตถากร. (2560). ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ : ฐานคติและการนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงการบริหารภาครัฐของไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน. 24(1), (36-37).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). คำสั่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาที่ 233/2565 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2565 เรื่อง การจัดโครงสร้างส่วนราชการและการแบ่งงานภายในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded2/Category/202210/20221020_InternalOrg.pdf.
สำนักงาน ก.พ. (2566). Digital Literacy คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 จากhttps://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 : องค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 จากhttps://www.opdc.go.th/file/reader/Qk80fHw2NTI5fHxmaWxlX3VwbG9hZA
สุวิมล ประทุม. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบที่มีพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). กลยุทธ์ทางเลือกเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและสมรรถภาพการวิจัย และประเมินของครูมืออาชีพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนฐานความรู้ : การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2005.43
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
วราลี จิเนราวัต, หมิงซาน หลัว, ณุนนท์ ราชเสน และ หยาง ฟง (ริชาร์ด) (2565). การบริหารการศึกษาบิ๊กดาต้า : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีนและการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3). Doi: 10.1445/educu.2021.52
อรอุษา ปุณยบุรณะ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2560). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสาธิต. Journal of Nakhonratchasima College, 11(2).
Bolisani, E. & Scarso, E. (1999). Information technology management: a knowledge-based perspective, Technocation 19(1999), 209-217. https://doi.org/10.1016/S0166-4972(98)00109-6
Brock, V., & Khan, H. U. (2017). Big data analytics: does organizational factor matters impact technology acceptance? Journal of Big Data, 4(1). https://doi.org/10.1186/s40537-017-0081-8
Cetera, W., Gogołek, W., Żołnierski, A., & Jaruga, D. (2022). Potential for the use of large unstructured data resources by public innovation support institutions. Journal of Big Data, 9(1). https://doi.org/10.1186/s40537-022-00610-6
Daki, H., el Hannani, A., Aqqal, A., Haidine, A., & Dahbi, A. (2017). Big Data management in smart grid: concepts, requirements and implementation. Journal of Big Data, 4(1). https://doi.org/10.1186/s40537-017-0070-y
Deshmukh, D., & More, A. (2017). Applying Big Data in Higher Education International. Journal of Innovative Research in Computer and Communication Engineering Applying Big Data in Higher Education. https://doi.org/10.15680/IJIRCCE.2017
Laney, D. (2013). Big Data Means Big Business. Retrieved on June, 24th, 2023, from http://www.gartner.com/technology/about/ombudsman/omb_guide2.jsp.
Ma, T. J., Garcia, R. J., Danford, F., Patrizi, L., Galasso, J., & Loyd, J. (2020). Big data actionable intelligence architecture. Journal of Big Data, 7(1). https://doi.org/10.1186/s40537-020-00378-7
Matto, G. (2022). Big Data Analytics Framework for Effective Higher Education Institutions. Tanzania Journal of Engineering and Technology, 41(1), 10–18. https://doi.org/10.52339/tjet.vi.768
Mittal, P. (2020). Big data and analytics: a data management perspective in public administration. International Journal of Big Data Management, 1(1), 1. https://doi.org/10.1504/ijbdm.2020.10032871
Mosley, Mark., Brackett, M. H., & Data Management Association. (2010). The DAMA guide to the data management body of knowledge (DAMA-DMBOK guide). Technics Publications.
Nawaz, A., Muhammad Kundi, G., Khan, I., & Pakhtoon Khwa, K. (2010). Digital literacy: An analysis of the contemporary paradigms. Journal of Science and Technology Education Research 1(2), 19 - 29, Retrieved on July, 1st, 2023, from https://academicjournals.org/article/article1379488135_Nawaz%20and%20Kundi.pdf
Nda, R. M., & Tasmin, R. bin. (2019). Big Data Management in Education Sector: an Overview. Path of Science, 5(6), 5009–5014. https://doi.org/10.22178/pos.47-6
Nguyen, A., Gardner, L., & Sheridan, D. P. (2020). Data Analytics in Higher Education: An Integrated View. Journal of Information Systems Education, 31(1), 61–71.
Razali, N. A. M., Malizan, N. A., Hasbullah, N. A., Wook, M., Zainuddin, N. M., Ishak, K. K., Ramli, S., & Sukardi, S. (2021). Opinion mining for national security: techniques, domain applications, challenges and research opportunities. Journal of Big Data, 8(1). https://doi.org/10.1186/s40537-021-00536-5
Riahi, Y., & Riahi, S. (2018). Big Data and Big Data Analytics: concepts, types and technologies. International Journal of Research and Engineering, 5(9), 524–528. https://doi.org/10.21276/ijre.2018.5.9.5
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.
Ye, Y., Zhang, Y., & Zhu, Y. (2022). Exploring the form of big data products and the supporting systems. Journal of Big Data, 9(1). https://doi.org/10.1186/s40537-022-00604-4
Yunita, A., Santoso, H. B., & Hasibuan, Z. A. (2022). ‘Everything is data’: towards one big data ecosystem using multiple sources of data on higher education in Indonesia. Journal of Big Data, 9(1). https://doi.org/10.1186/s40537-022-00639-7.